ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้ก่อนเข้าการเรียนการสอนอาจารย์ก็ได้พูดทักทายนักศึกษา เล่าเรื่องต่างๆก่อนเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจมากขึ้น
😀 กิจกรรมที่ 1 😃
อาจารย์ให้นักศึกษาสแกนบาร์โค้ด LINE เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่อาจารย์ได้ทำให้นักศึกษาซึ่งแบ่งกลุ่มกันมีทั้งหมด 6 กลุ่ม และกลุ่มของดิฉันอยู่กลุ่มที่ 2 แล้วอาจารย์ให้ถ่ายรูปกลุ่มของตนเองเขียนชื่อสมาชิกในกลุ่มแล้วก็อัพโหลดรูปลงไปจะมีไว้เพื่อการส่งงานและทำกิจกรรมต่างๆอาจารย์ได้ทำเว็บไซต์นี้เพื่อประหยัดการใช้กระดาษให้น้อยลงใช้สื่อเว็บไซต์ให้มากขึ้นเพื่อความสะดวกสบายของนักศึกษา ต่อมาอาจารย์ก็ให้พิมพ์ข้อมูลของแต่ละคนซึ่งอาจารย์จะให้หัวข้อมา คือ เมื่อเรานึกถึงการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมมวัยคิดว่าน่าจะเรียนเรื่องอะไรบ้างแล้วหลังจากนั้นก็โพสต์ลงของแต่ละคน
หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดเสริมถึงรายละเอียดของ BLOGGER จะมีการนำเสนอบทความ , ตัวอย่างการสอนและงานวิจัย หน้าชั้นเรียน ตามเลขที่ในสัปดาห์ถัดไปซึ่งจะต้องสรุปใน BLOGGER มีทั้งสรุปบทความ,ตัวอย่างการสอน,งานวิจัย,สื่อการสอน
📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖📖
💜กิจกรรมที่2💙
📕สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
📌 สมองทำงานสั่งการสิ่งแวดล้อมภายนอกของคนสัตว์สิ่งของที่มากระทบเรามันมีผลต่อเมื่อประสาทสัมผัสทั้งห้า
📌 มีการซึมซับปรับเป็นความรู้ใหม่ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการเรียนรู้ของสมองทั้ง2 ซีกที่ต่างกัน
📌 ถ้าเกิดเรารู้เรื่องสมองทำให้สามารถไปดูแลเด็กที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตของสมองเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
📌 เราสามารถนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้
📌 เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้คือการเล่น
📌 ถ้าจะนำกิจกรรมไปพัฒนาให้เด็กจะต้องให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองตามความสามารถแล้วก็ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะต้องคำนึงแต่ละบุคคลด้วย
📌 มีทักษะจากง่าย-ยากจะต้องสอดคล้องกับพัฒนาการและไม่มีความซับซ้อน
📌 ลงมือกระทำสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
📌 เด็กจะเกิดการซึมซับรับรู้ถ้าความรู้ใหม่สอดคล้องกับความรู้เดิมทำให้เกิดการปรับโครงสร้างซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของเพียเจต์
📕แนวทางที่จะนำไปจัดประสบการณ์
📍 การทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ซึ่งเพลงจะเป็นสื่อให้เด็กทำกิจกรรมที่จะส่งเสริมเด็กให้แสดงออกโดยการใช้พฤติกรรมทางประสาทสัมผัสโดยการกำกับของสมอง
📍 วิธีที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เกิดการเรียนรู้
📍 การจัดประสบการณ์ต้องเริ่มจากเรื่องที่ง่ายไปสู่เรื่องที่ยากทำให้สอดคล้องกับพัฒนาการที่ไม่ซับซ้อนไปสู่ความซับซ้อนนำไปสู่การสังเกตว่าเด็กทำได้หรือไม่ได้เพราะเด็กแต่ละอายุจะทำต่างกัน
❗❗❗ถ้าเราพูดถึงการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ จะต้องมีวิธีการ ลักษณะพัฒนาการ ความหมายนิยาม การเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง
😊ทฤษฎีการเรียนรู้😃
💖พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
2.1 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
1.ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3.ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5.ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
💛💛💛ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
💖กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
2.การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
💖การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา/การสอน
😍นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
😍ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
😍หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
-เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
-เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
-เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
-เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
-ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
😍การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
-ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
-ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
-ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
-เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
-ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
-ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
-ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
-ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
😍ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
-มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
-พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
-ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น
สรุปความรู้เพิ่มเติมของทฤษฎีเพียเจย์
ซึมซับรับรู้ 👉 ปรับโครงสร้างความรู้ใหม่
👾เมื่อไม่เกิดการเรียนรู้ทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนำไปสู่การวัดและการประเมินผล
👾เมื่อเกิดการเรียนรู้ทำให้เกิดการอยู่รอด
👾ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด💥 เด็กจะเริ่มเชื่อมโยงคำศัพท์ เช่น 2-3 ปี 👉 เป็นคำๆ และ 3-4 ปี 👉 เป็นประโยค
👾ขั้นปฏิบัติการคิด 💥 4-7 ปีเริ่มเป็นประโยค พยางค์
👾ขั้นอนุรักษ์ 💧 เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมอย่างเช่นการเทน้ำแก้วทรงเตี้ยกับทรงสูงซึ่งแก้วทรงสูงจะมีปริมาณน้ำที่มากกว่า เด็กจะตอบตามที่ตาเห็นเชื่อมโยงมากขึ้นตาไม่เห็นแต่ให้เหตุผลมากขึ้นบอกได้อีกอย่างหนึ่งคือการวางเชือก
👾การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
👾ทฤษฎีของเพียเจต์จะกล่าวถึงการทำงานของสมอง จุดเด่นของอายุ
💢ลักษณะของพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นบันได
💢พัฒนาการ คือ พฤติกรรมหรือความสามารถของเด็กแต่ละช่วงวัย ระดับอายุ
💟สิ่งที่ควรรู้
รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
1)ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจซึ่งเกิดขึ้นจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่ศึกษา ในกรณีที่ไม่มีประเด็นใดที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอด้วยประเด็นขึ้นมาก่อนแต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา
2)ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางสำหรับการตรวจสอบตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่นทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (Simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
3)ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มิเคราะห์ แปลผล สรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือรูปวาด สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมติฐานที่ตั้งไว้ โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
4)ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งจะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่าง ๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
5)ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่น ๆการนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่น ๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งจะก่อให้เกิดประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ จึงเรียกว่า Inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อไป
หลังจากนั้นอาจารย์ให้พิมพ์ลงไปเว็บไซต์ที่อาจารย์สร้างขึ้นเพื่อมีไว้ส่งงาน คำถาม คือ จากที่เราได้ฟังอาจารย์สรุปเราได้อะไรบ้าง เมื่อคนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มมาจับสลากในเรื่องที่จะไปค้นคว้าหาข้อมูลหัวข้อมีดังนี้
1.แสง
2.เสียง
3.น้ำ
4.อากาศ
5.เครื่องกล
6.ดิน หิน ทราย
กลุ่มของดิฉันจากฉลากได้เรื่องเกี่ยวกับแสงและอาจารย์ก็ได้พูดถึงการทำของเล่นที่เกี่ยวกับเรื่องที่เราได้กลุ่มละ 1 ชิ้นและคนละ 1 ชิ้นใช้เศษวัสดุ แต่อาจารย์จะให้ไปหาข้อมูลมาก่อนแล้วทำเป็น Mapping ลงไปในเว็บไซต์ Thinklink และอาจารย์ให้นักศึกษาแยกย้ายกันไปหาข้อมูลของกลุ่มตนเองที่ห้องสมุดซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อ ดังนี้
1.แหล่งที่มา
2.คุณสมบัติ/คุณลักษณะ
3.ประเภท ( ทักษะการคิด,การจัดหมวดหมู่ )
4.ประโยชน์
5.โทษ
6.ดูแลรักษา
อาจารย์ได้พูดถึงการไปศึกษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ซึ่งให้นักศึกษาไปดูมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 25 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 – 19.00 น. ณ Hall 6-12 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ให้ไปเก็บภาพบรรยากาศและนำลงไปใส่ลงใน BLOGGER ตนเอง
👿คำศัพท์👿
1.Assimilation การซึมซับหรือการดูดซึม
2.Accommodation การปรับและจัดระบบ
3.Equilibration การเกิดความสมดุล
4.Exploration ขั้นสำรวจและค้นหา
5.Evaluation ขั้นประเมิน
การประเมิน
ประเมินตนเอง 👱 สำหรับวันนี้ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจต์มากขึ้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้
ประเมินเพื่อน 👱 เพื่อนๆมีความพร้อมในการเรียน พูดคุยระหว่างอาจารย์สอนน้อยลงและได้ช่วยกันตอบสิ่งที่อาจารย์ถามได้
ประเมินอาจารย์ 👱 อาจารย์สามารถพูดบรรยายให้นักศึกษาคิดภาพตามได้และทำให้เข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามได้เป็นสิ่งที่ดีมากๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น