วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Record ★ 9

วันพุธ  ที่ 16  ตุลาคม  พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ

  😊 กิจกรรมที่1 การทดลอง

     ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองของแต่ละกลุ่มอีก 1 ครั้งเพื่อที่จะนำการทดลองจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆที่มูลนิธิศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ซึ่งแต่ละกลุ่มต้องซ้อมพูด ลองทำการทดลองที่ตนเองได้รับมอบหมายในสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มลองทดลองกันไปแล้ว มีบางกลุ่มที่ได้เปลี่ยนการทดลอง


👯กลุ่มที่ 1 การทดลองแยกเกลือกับพริกไทย


สมาชิกในกลุ่ม

    1.นางสาวอมรรัตน์ คงสวัสดิ์
   2.นางสาวจิรกิตติ์ ถิ่นพันธ์
        3.นางสาวขวัญฤทัย นีลวัณโณ  
      4.นางสาวกัลยกร เกิดสมบูรณ์
       5.นางสาวธัญญลักษณ์ บุญเรียง

💦อุปกรณ์
1.ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น)
2.เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง
3.พริกไทยป่น
4.ชามใบเล็กหรือจานลอง 2 ใบ
5.วัสดุสังเคราะห์( เช่นช้อนพลาสติก )

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.นำเกลือและพริกไทยผสมกันในจาน
2.นำช้อนพลาสติกา ถูผ้าขนสัตว์ 
3.ถือช้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลือ และอย่าถือช้อนใกล้กับส่วนผสมมากจนเกินไป 

💦สรุปผลการทดลอง 
   เมื่อเกิดการเสียดสีอิเล็กตรอนจากทอขนสัตว์จากเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวของช้อนพลาสติก (เกิดการถ่ายเทประจุ) ช้อนพลาสติกจึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ ส่วนผ้าขนสัตว์มีสถานะทางไฟฟ้าเป็นบวก เพราะ สูญเสียอิเล็กตรอน
   วัสดุที่มีไฟฟ้าสถิตสามารถทำให้เกิดการเครื่อรย้ายของประจุไฟฟ้าในวัสดุอีกวัสดุหนึ่งที่เป็นกลางได้ เช่น ผงเครื่องปรุงเกลือและพริกไทย เนื่องจากการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนจากอะตอมทุกๆอะตอมไปยังอีกด้านหนึ่ง
   ผงปรุงด้านที่อยู่ใกล้จึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ และพื้นผิวด้านไกลเป็นบวก ช้อนจึงดึงดูดด้านบวกของเม็ดพริกไทยขึ้นมาติดกับผิวช้อนซึ่งมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

👯กลุ่มที่ 2 การทดลองลูกโป่งพองโต


สมาชิกในกลุ่ม

   1.นางสาวนภัสสร ก้านอินทร์
  2.นางสาวพรรณทิภา มามุ้ย
    3.นางสาวนันทกา เนียมสูงเนิน
    4.นางสาวชนม์นิภา อินทจันทร์
  5.นางสาวศรสวรรค์ เทพยศ


💦อุปกรณ์     
1.ลูกโป่งหลายใบ(ก่อนทดลองควรเป่าลมให้ลูกโป่งยืดออก)
2.เบกกิ้งโซดา 
3.น้ำ
4.ถ้วยหรือชามเล็ก
5.ขวดแก้วปากแคบ
6.กรวยกระดาษหรือพลาสติก
7.กรดมะนาว
8.ช้อนชา
9.ถ้วยตวงขนาดเล็ก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.ใช้ปากกาเคมีขีดข้างถ้วยตวงที่ขีด 50 ซีซี เพื่อให้เด็กรู้ปริมาตรของน้ำที่ต้องเติม จากนั้นเทผงยาลดกรดลงในถ้วย 
2.เติมน้ำลงไปในขั้นตอนแรกให้เปรียบเทียบปริมาณก๊าซ CO 2 ที่เกิดขึ้นจากสารชนิดเดียวแต่มีปริมาณแตกต่างกัน โดยให้เด็ก
กลุ่มที่ 1 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 1 
กลุ่มที่ 2 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 2
กลุ่มที่ 3 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 3 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 3
3.เทน้ำปริมาณเท่ากันลงในขวดแต่ละใบ แล้วรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวดให้แน่น โดยให้เด็กหนึ่งคนจับขวดไว้ ส่วนอีกคนรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวด แล้วเขย่าขวดเบาๆ
4.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลูกโป่ง ลูกโป่งบนขวดใบไหนพองมากที่สุด และเทผงยาลดกรดลงไปเท่าไร เพื่อป้องกันการสับสน ให้เขียนป้ายแสดงปริมาณยาลดกรดที่ใส่ติดไว้ข้างขวด
    นอกจากผงยาลดกรด อาจใช้ผงฟู หรือสารละลายกรด มะนาวเบกกิ้งโซดา (อัตราส่วน3:1)มาทดลองแทนได้

💦สรุปผลการทดลอง
    สารที่นำมาทดลองนั้น ( ผงฟู ยาลดกรดชนิดผง และกรดมะนาวผสมเบกกิ้งโซดา)มีเบกกิ้งโซดา และกรดผสมอยู่ ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวดูได้จากฉลากบนบรรจุภัณฑ์ โดยในยาลดกรดชนิดผงจะมีกรดมะนาวผสมอยู่ ส่วนผงฟูมีกรดชนิดอื่นผสม ก๊าซ CO2จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำผสมกับสาร ปฏิกิริยาเคมีระหว่างเบกกิ้งโซดากับกรดจะเกิดขึ้นเมื่อสารทั้งสองชนิดละลายอยู่ในสารละลายกรดหรือมีกรดเจอปนอยู่ เช่น น้ำมะนาว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
  ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้นหลายชนิดที่แตกต่างกันทำให้ได้ผลไม้ที่แตกต่างกัน สำหรับการทดลองนี้ ผลที่เกิดจากเบกกิ้งโซดาและกรดมะนาวคือ ก๊าซ CO2 เมื่อสารตั้งต้นถูกใช้จนหมด ปฏิกิริยาเคมีก็จะหยุดเช่นกัน เมื่อเทน้ำมะนาวลงในผงฟูแทนน้ำ จะเกิดฟองก๊าซฟูขึ้นอย่างรุนแรง เพราะสารละลายกรดเข้มข้นมากกว่า
  เมื่อปล่อยก๊าซ CO2ลูกโป่งจะตกสู่พื้นดินเร็วกว่าลูกโป่งที่เป่าอากาศเข้าไป เนื่องจากก๊าซ CO2 มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

👯กลุ่มที่ 3 การทดลองทรายน้ำมัน


สมาชิกในกลุ่ม

       1.นางสาวศิริเมษา ทักษิณ
  2.นายนภสินธุ์ พุ่มพุฒ
      3.นางสาวสาธินี จันทรามาศ
     4.นางสาวสุธิดา ยศรุ่งเรือง

💦อุปกรณ์
1. ภาชนะสำหรับล้างทรายหรือกรวด
2. น้ำมันพืช
3. ถ้วยตวงใส่น้ำ
4. ทรายหรือกรวด

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เทน้ำมันพืชใส่ในแก้วใบเล็กของเด็กต่ละคน (ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ)
2.เทน้ำลงในขวดแยมประมาณ 3/4 ขวด ต่อจากนั้นใส่ทรายหรือกรวด (หรือวัสดุที่เตรียมมา)ลงไป 4 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน
3.เทน้ำมันพืชจากแก้วใบเล็กลงในขวดแยม และปิดฝาให้แน่น
4.เขย่าขวดหลายๆครั้ง แล้วนำไปสางบนโต๊ะเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง

💦สรุปผลการทดลอง

  ทรายหรือกราดจะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว น้ำมันพืช น้ำและฟองอากาสซึ้งเกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วินาที น้ำมันพืชและน้ำจะแยกตัวออกจากกัน โดยน้ำมันพืชสะเหลืองจะลอยตัวอยู่บนผิงน้ำ
  ทรายหนักกว่าน้ำจึงจมน้ำ แต่น้ำมีนเบากว่าน้ำจึงลอยอยู่บนผิวน้ำได้แต่ของเหลวทั่งสองชนิดคือ น้ำและน้ำมันไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเพราะน้ำแบละน้ำมันมีโครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกันและไม่ชอบอยู่รวมกัน เมื่อเขย่าขวดที่มีน้ำและน้ำมันอยู่ น้ำมันจะแตกตัวอยู่ในรูปทรงกลมและพยายามอยู่ด้านบน เมื่อทิ้งไว้สักครู่น้ำมันที่แตกตัวจะจับตัวกันเหมือนเดิม สสารชนิดเดียวกันจะรวมตัวกันเสมอตามสมบัติทางเคมี
💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

👯กลุ่มที่ 4 การทดลองภูเขาไฟ


สมาชิกในกลุ่ม

      1.นางสาวเบญจวรรณ ปานขาว
 2.นางสาวชนิตา โพธิ์ศรี
 3.นางสาวชฎาพร คำผง
    4.นางสาวปิยาภรณ์ วงษ์ป้อม
  5.นางสาวชลิตา ภูผาแนบ

💦อุปกรณ์
1.เบกกิ้งโซดา
2.น้ำส้มสายชู
3.สีผสมอาหาร
4.ดินน้ำมัน
5.แก้วพลาสติก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เทน้ำส้มสายชูประมาน 1 ส่วน 3 ของแก้ว ลงไปในปล่องภูเขาไฟ
2.เติมเบกกิ้งโซดาลงไปในปล่องภูเขาไฟ
3.สังเกตการเกิดฟองออกมาจากปล่องภูเขาไฟ

💦สรุปผลการทดลอง
  การทดลองกิจกรรมภูเขาไฟระเบิดโดยใส่สารต่างๆตามวิธีของตนเอง ว่าจะใส่สารอะไรก่อนหลัง เช่น ใส่เบกกิงโซดา น้ํายําล้างจาน สีผสมอาหาร จะทำให้เกิดฟองไหลออกมาจาก ปล่องภูเขําคล้ายลาวา ในลาวาที่ไหลออกมาเกิดจากเบกกิงโซดําผสมกับของเหลวจนเกิดเป็นก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

👯กลุ่มที่ 5 การทดลองภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว


สมาชิกในกลุ่ม

  1.นางสาวอภิญญา แก้วขาว
  2.นางสาวปทุมแก้ว ขุนทอง
 3.นางสาวปุณยวีร์ ยานิตย์
  4.นางสาวอรนภา ขุนวงค์ษา

💦อุปกรณ์
1.แผ่นใสสีแดงและสีเขียว
2.เทปกาว
3.กรรไกร
4.ปากกาเคมีหรือดินสอสีแดงและสีเขียว

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เปรียบเทียบสีของปากกาเคมีและแผ่นใสที่ใช้ให้กลมกลืน  ลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีแดง เมื่อวางแผ่นใสสีแดงทาบลงไป จะต้องมองไม่เห็นเส้นสีแดง แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียวจะต้องเห็นเส้นสีแดงได้ชัดเจน
2.จากนั้นลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีเขียว เมื่อวางแผ่นใสสีเขียวทาบลงไป เราจะมองไม่เห็นเส้นสีเขียว แต่จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดง ถ้าหาปากกาเคมีสีเขียวที่กลมกลืนกับแผ่นใสสีเขียวไม่ได้ อาจใช้แค่ปากกาเคมีสีแดงสีเดียวก็ได้
3.ตัดแผ่นใสสีแดงและสีเขียวให้มีขนาดเท่ากับไปรษณียบัตรวางแผ่นใสสีแดงและสีเขียวชิดกัน ติดด้วยเทปกาวใส ตัดทั้งสี่มุมให้มน
4.วาดภาพง่ายๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เช่น รูปใบหน้าคน ลงบนกระดาษสีขาว ภาพที่วาดไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นใสสีเขียวแดงที่เตรียมไว้
 - ใช้ปากกาเคมีสีแดงเติมรายละเอียดลงไปในภาพ เช่น แลบลิ้น เป็นต้น
 - นำแผ่นใสสีเขียว แดง ที่ทำไว้มาวางบนภาพ และเลื่อนไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน
5.วาดภาพแบบอื่นๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เติมรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวไปมาด้วยปากกาเคมีสีแดง เช่น
  - เทียนสีดำกับเปลวไฟสีแดง
  - หมวกสีดำกับกระต่ายสีแดง
  - มังกรสีดำกำลังพ่นไฟสีแดง
•อาจใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวได้เช่นกัน

💦สรุปผลการทดลอง
 เรามองเห็นภาพที่วาดด้วยปากกาเคมีสีดำผ่านแผนใสทั้งสองสี แต่รายละเอียดของภาพที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวต้องวาดด้วยสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น เราไม่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวจากสีทั้งสองสีพร้อมกันได้
💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

กลุ่มที่ 6 การทดลองลูกข่างหลากสี( การทดลองเชิงสื่อ )



สมาชิกในกลุ่ม

 1.นางสาวกนกอร เกาะสังข์

2.นางสาวชลิดา ทารักษ์
   3.นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์
 4.นางสาวดาวจุฬา สินตุ้น

💦อุปกรณ์ 
1.กระดาษสีขาวและกระดาษสี

2.แผ่นซีดี

3.ดินน้ำมัน

4.ลูกแก้ว
5.กรรไกร
6.กาวแท่ง
7.ดินสอและปากกาเคมี

💦ขั้นตอนการทดลอง                                                    1.ใช้แผ่นซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษตัดออกมาระบายสีลงบนแผ่นกระดาษวงกลม
2.ระบายสีตกแต่งลูกข่างกระดาษด้วยสีที่เทียนเมื่อลูกข่างหมุนจะเกิดเป็นการผสมสี
3.ใช้กาวติดแผ่นซีดีกับแผ่นกระดาษวงกลมที่ระบายสี
4.เจาะรูบนกระดาษให้ตรงกับตำแหน่งของรูบนแผ่นซีดีวางแก้วบนรู้แผ่นซีดียึดให้แน่นด้วยดินน้ำมันหรือกาวร้อน

💦สรุปผลการทดลอง
    การทดลองนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถเพื่อให้ลูกข่างแผ่นซีดีหมุนอยู่กับที่ให้วางแผ่นซีดีในรูของแผ่นซีดีเปล่าทำให้เราเห็นสีต่างๆเนื่องจากเซลล์รับรู้ของตาเราไวต่อแสงสี 3 สีหลัก ได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียว ถูกกระตุ้นถ้ามีสีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราไม่สามารถแยกสิ่งต่างๆได้ทันจึงเห็นสีต่างๆผสมเป็นสีเดียวกัน

💢💢💢 กลุุ่มนี้อาจารย์ให้ไปทำเป็นสื่อแทนการทดลอง

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

  😊กิจกรรมที่2  สื่อชิ้นที่ 1

   อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 คนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาทำสื่อของตนเอง

👾อุปกรณ์
1.กระดาษ A4
2.สีไม้
3.ดินสอ

👾ขั้นตอนการทำ

1.แบ่งครึ่งกระดาษ A4  ตามแนวตั้ง


2.ตัดแบ่งครึ่งกระดาษ A4 ตามแนวตั้ง


3.ใช้กระดาษครึ่งนึงที่ตัดพับโดยไม่ต้องให้ถึงมุมกระดาษ


4.วาดภาพอะไรก็ได้ลงไปในกระดาษ


5.การวาดภาพต้องคำนึงถึงความแตกต่างของทั้ง 2 รูป โดยการให้ภาพสามารถมองแล้วขยับได้ ใช้การเปิด ปิดภาพให้เร็วขึ้น


สื่อชิ้นที่ 1


💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖
😊กิจกรรมที่3 สื่อชิ้นที่ 2

 👾อุปกรณ์
1.กระดาษ A4
2.ดินสอ

👾ขั้นตอนการทำ

1.พับครึ่งกระดาษ A4 แผ่นให้เป็นเล็ก


2.วาดภาพให้สัมพันธ์กันทั้ง 2 ด้าน 
3.นำไปติดกาวให้เรียบร้อย
4.นำกระดาษมาม้วนหรือนำไม้มาทากาวเพื่อจะทำเป็นที่จับ ทำให้สามารถหมุนได้

สื่อชิ้นที่ 2
สื่อชิ้นที่ 2



💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

😊กิจกรรมที่4 สื่อชิ้นที่ 3

       สื่อชิ้นนี้อาจารย์ให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นด้วยตนเอง ซึ่งอาจารย์ได้กำหนดว่าต้องใช้กระดาษครึ่งนึงแล้วสื่อของเล่นที่ทำต้องสามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องอะไรในวิทยาศาสตร์สามารถออกมานำเสนอได้ แต่ละชิ้นห้ามซ้ำกับของเพื่อน  

สื่อของเล่น  " เป่าจรวดด้วยหลอด "


👾อุปกรณ์

1.กระดาษ A4

2.ดินสอ

3.สีไม้
4.หลอด

👾ขั้นตอนการทำ

1.ตัดกระดาษ A4 แผ่นให้เป็นเล็ก


2.วาดภาพจรวด 2 รูปแล้วนำกาวมาติดกันโดยการเว้นให้มีรูเพื่อที่จะสามารถใส่หลอดเข้าไปได้



3.ตกแต่งให้สวยงาม


สื่อของเล่น



💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

👿บรรยากาศในห้องเรียน👿




💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖


          💙คำศัพท์
1.Trials                     การทดลอง
2.Observation                การสังเกต
3.Work piece                 ชิ้นงาน
4.Experience                 ประสบการณ์
5.Questioning                การถาม


การประเมิน

ประเมินตนเอง  💟  ได้ทำการทดลองเป็นการฝึกพูดให้คนที่ฟังเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังพูดหรือสื่อออกมาได้ชัดเจนและได้รู้ขั้นตอนกระบวนการทดลองเป็นลำดับขั้น นอกจากนี้ได้ทำสื่อชิ้นต่างๆและได้คิดสื่อของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

ประเมินเพื่อน   💟  เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทดลองดีมาก มีการถาม ตอบ จำลองเหตุการณ์เมื่อเราไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ 

ประเมินอาจารย์  💟  อาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษาตอบหรือแสดงความคิดเห็นได้ดีมาก และให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นด้วยตนเองทำให้นักศึกษาเข้าใจในสิ่งที่ตนกำลังเรียนรู้ได้ดี อาจารย์สามารถอธิบายเข้าใจชัดเจน

😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น