วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Record ★ 5

วันพุธ  ที่ 4  กันยายน  พ.ศ.2562


ความรู้ที่ได้รับ

   ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับ BLOGGER ว่าเนื้อหาคืออะไร
❤️การบันทึกในแต่ละครั้ง สามารถนำกลับมาทบทวนและสรุปแก่นของการเรียนรู้ได้. เวลาฝึกสอนสามารถนำกลับมาใช้ได้  
             
❤️ตัวอย่างการสอน 

❤️คำศัพท์ 

❤️งานวิจัย คือการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยมีนักทฤษฎีมาอ้างอิง 
👉บทที่ 1 บทนำ
👉บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง จะมีความหมาย ความสำคัญ ประเภท แนวคิด นักทฤษฎี วิจัยมีความเชื่อถือได้ก็ต่อเมื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมีผู้เชี่ยวชาญรับรอง มีการอ้างอิงถึงทฤษฎีเพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
👉บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ
👉บทที่ 4 นำไปปฏิบัติ
👉บทที่ 5 อภิปรายสรุปผล

❤️หน่วยงานที่สนับสนุน เราสามารถเข้าดูได้เรื่อยๆ อยู่ในยุคเปลี่ยนถ่าย อย่างเช่น 👀สสวท   👀อว. หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  
👀วิทยาการคำนวณ  (Computing science)  เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ซึ่งการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ มีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนกล่าวคือเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะในการค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา เสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบมีจริยธรรม

❤️สื่อการสอน อย่างเช่น เพลง เกม นิทาน แบบทดสอบ

❤️บทความ คือ ผู้เขียนนำแหล่งข้อมูลที่หลากหลายนำมาประมวลเป็นแนวทาง หลักการ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย

  หลังจากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงการประดิษฐ์ของเล่น เราควรให้เด็กทำตอนกิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นการประดิษฐ์ อย่างเช่น การเล่นสีในเชิงวิทยาศาสตร์ เป่าสี ภาพพิมพ์ ในการใช้มือปั๊มสีเรียนรู้ตัวฉัน รูปร่าง ลักษณะหรือใช้ใบไม้พิมพ์มีลายเส้นที่แตกต่างกันเป็นการสังเกต การปั้นเป็นของเหลวนำมาปั้นให้เป็นรูปเครื่องบินหรือรูปอะไรก็ได้ให้เด็กสังเกตเห็น มีหน้าที่ ประโยชน์
  วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติหรือไม่เป็นธรรมชาติซึ่งทุกๆอย่างคือวิทยาศาสตร์  รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการ

สาระที่ควรเรียนรู้ มี 4 หัวข้อ ( หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ) 
     👱สาระที่จะให้เด็กช่วงอายุ 2-3 ปีเรียนรู้ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเด็กเป็นลำดับแรกแล้วจึงขยำยไปสู่เรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็กเพื่อนำไปใช้ในกำรดำเนินชีวิตประจำวันเด็กควรได้รับกำรอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนำกำรและกำรเรียนรู้ให้เหมำะกับวัย ดังนี้
 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเองการเรียกชื่อส่วนต่างๆของใบหน้ำและร่างกำย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทำนอาหาร การถอดและสวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัยและการนอนหลับพักผ่อน
 2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทายด้วยการไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี
 3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆในธรรมชาติรอบตัว เช่นสัตว์พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย
 4.สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของเล่นของใช้ที่อยู่รอบตัว การเชื่อมโยงลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างง่ายๆของสิ่งต่ำงๆที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เช่น สี รูปร่ำง รูปทรง ขนาดผิวสัมผัส

👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾


  👱สาระที่จะให้เด็กช่วงอายุ 3-6 ปี แนวคิด หลังสำระที่ควรเรียนรู้นั้นๆ จัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ทั้งนี้ไม่เน้นการท่องจำเนื้อหา ผู้สอนสามารถกำหนดรายละเอียดขึ้นเองให้สอดคล้องกับวัย ความต้องการและความสนใจของเด็ก โดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบกำรณ์สำคัญทั้งนี้ อาจยืดหยุ่นเนื้อหาได้โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็กดังนี้
 1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆวิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์การรักษา ความปลอดภัยของตนเอง รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม
 2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัว สถานศึกษา ชุมชนและบุคคลต่างๆที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สาคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชนศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สาคัญของชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทยหรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ
 3.ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อลักษณะส่วนประกอบการเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืชตลอดจนกำรรู้จักเกี่ยวกับดินน้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ
 4.สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัสขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ ประโยชน์การใช้งานและการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม
   วิทยาศาสตร์มีความสำคัญ ที่ไหนที่มีวิทยาศาสตร์ไม่ถึงยังคงเป็นธรรมชาติการนำวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อสร้างความเจริญใช้ในการดำรงชีวิตทำให้เกิดความสะดวกสบายขึ้นและใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงมากขึ้นมีผลเสียที่เกิดจากมลพิษจะต้องดูแลรักษา เป็นทักษะสำคัญที่แสดงถึงการมีกระบวนการคิด อย่างมีเหตุ มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียน และผู้ปฏิบัติเกิดความเข้าใจในเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองไปสู่กระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น

  💙💙 ขั้นอนุรักษ์คือเป็นรูปธรรม เด็กตอบในสิ่งที่ตาเห็น อย่างเช่น การเทน้ำ ในปริมาณที่เท่ากันซึ่งเติมในแก้วที่มีทรงเตี้ยและทรงสูง เด็กจะเห็นอะไรก็จะตอบอย่างนั้น
  💚💚การศึกษาวิทยาศาสตร์มีคุณลักษณะหรือลักษณะที่เกี่ยวข้อง

   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 13 ทักษะ

  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (science process skill) หมายถึง ความสามารถ และความชำนาญในการคิด เพื่อค้นหาความรู้ และการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การวัด การคำนวณ การจำแนก การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล การลงความคิดเห็น การพยากรณ์ การตั้งสมมติฐาน การกำหนดนิยาม การกำหนดตัวแปร การทดลอง การวิเคราะห์ และแปรผลข้อมูล การสรุปผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ

  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

1.ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษาปฐมวัย
2.ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เหมาะสำหรับระดับการศึกษามัธยมวัย
💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

1.ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ เป็นทักษะเพื่อการแสวงหาความรู้ทั่วไป ประกอบด้วย
  ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต

ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1.ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2.ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3.ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4.ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5.ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น
   นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถแสดงหรือบรรยายคุณลักษณะของวัตถุได้ จากการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
– สามารถบรรยายคุณสมบัติเชิงประมาณ และคุณภาพของวัตถุได้
– สามารถบรรยายพฤติการณ์การเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
  💜วิธีการในการจัดการเรียนการสอน
1.ใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กตอบมีการอยากดูอยากเห็น
2.ลงมือปฏิบัติให้เจอของจริง มีการเตรียมวางแผน เอาอุปกรณ์มาให้เด็กดู อย่างเช่น การทำของเล่นกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การประดิษฐ์นาฬิกาทรายซึ่งทรายเป็นธรรมชาติทำให้ไหลได้
ครูจะต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับเด็ก Facilitator
  💛สิ่งที่สำคัญ
1.สิ่งที่อยู่รอบตัวต่างๆเป็นวิทยาศาสตร์
2.สิ่งที่นำมาใช้แล้วเห็นการเปลี่ยนแปลง
3.คำถามกระตุ้นให้ตอบเป็นวิทยาศาสตร์

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 2 การวัด (Measuring) หมายถึง การใช้เครื่องมือสำหรับการวัดข้อมูลในเชิงปริมาณของสิ่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นตัวเลขในหน่วยการวัดที่ถูกต้อง แม่นยำได้ ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือจำเป็นต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด รวมถึงเข้าใจวิธีการวัด และแสดงขั้นตอนการวัดได้อย่างถูกต้อง

  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่วัดได้
– สามารถบอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวัดได้
– สามารถบอกวิธีการ ขั้นตอน และวิธีใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง
– สามารถทำการวัด รวมถึงระบุหน่วยของตัวเลขได้อย่างถูกต้อง

👾👾การวัด ความยาว หาค่าปริมาณและขนาด ครูอำนวยความสะดวกมีการจัดเตรียมสิ่งของให้เด็กนำมาเปรียบเทียบให้เห็นของจริงของสิ่งต่างๆ เช่น ผลไม้ สัตว์ ทุกสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์การสร้างสถานการณ์
ตัวอย่าง
  นำผลไม้มาหาค่าปริมาณ ชั่งน้ำหนัก นับจำนวน สีของผลไม้ที่สัมพันธ์กับอายุ ( ถ้ายังไม่สุก สีเขียว สุกเต็มที่ สีแดง สีส้ม พอเวลาผ่านไป สีน้ำตาล ) สามารถเชื่อมโยงวันเวลาหรือเด็กชอบผลไม้อะไรมากที่สุดหรือน้อยกว่าอะไรแต่มากกว่าอะไรเป็นการบูรณาการ ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า
1.จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ วัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ วัดแรงกดดันของอากาศ วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ
2.จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน
3.เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม
4.จะวัดอย่างไร เช่น เมื่อมีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร มีเทคนิคอย่างไร

   สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการวัดแต่ละครั้ง คือความเที่ยงตรง แน่นอนในการวัดและค่าที่ถูกต้อง การวัดปริมาณใด ๆ มักจะเกิดความคลาดเคลื่อนอยู่เสมอ เช่นเกิดจากการอ่านค่าผิดพลาด หรือบันทึกผิด หรือเกิดจากการใช้วิธีวัดไม่ถูกต้อง วิธีแก้ความคลาดเคลื่อนทำได้โดยการวัดหลาย ๆ ครั้ง แล้วหาค่าเฉลี่ย การที่นักเรียนจะมีทักษะในการวัด จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอยู่บ่อย ๆ เช่น ก่อนการวัดต้องศึกษาเครื่องมือ วิธีการใช้ สเกลการวัด เป็นต้น ความสามารถที่แสดงว่านักเรียนเกิดทักษะการวัด คือ
1.เลือกเครื่องมือได้เหมาะสมกับสิ่งที่จะวัด
2.บอกเหตุผลในการเลือกเครื่องมือได้
3.บอกวิธีวัดและวิธีใช้เครื่องมือวัดได้ถูกต้อง
4.ทำการวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ถูกต้อง
5.ระบุหน่วยของตัวเลขที่ได้จากการวัดได้
การวัดปริมาณต่าง ๆ ได้ตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ
1.เทคนิคการวัด
2.มาตราฐานของเครื่องมือ
3.ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบ

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ

  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถนับจำนวนของวัตถุได้ถูกต้อง
– สามารถบอกวิธีคำนวณ แสดงวิธีคำนวณ และคิดคำนวณได้ถูกต้อง

 👾👾การคำนวน เป็นกระบวนการที่มากขึ้น หาว่าเด็กชอบผลไม้อะไรมากที่สุดกี่คน น้อยที่สุดอีกคน อยู่เท่าไหร่ สีแต่ละช่วงกี่วันจนสุดท้ายก็เน่า 

ลักษณะของการคำนวณ มีดังต่อไปนี้
1.นับจำนวน
2.ใช้ตัวเลขแสดงจำนวนที่นับ
3.บอกวิธีคำนวณ
4.คิดคำนวณ
5.แสดงวิธีคิดคำนวณ
6.บอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย
7.หาค่าเฉลี่ย
8.แสดงวิธีหาค่าเฉลี่ย

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

  ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเรียงลำดับ และแบ่งกลุ่มของวัตถุ โดยใช้เกณฑ์ใดได้อย่างถูกต้อง
– สามารถอธิบายเกณฑ์ในเรียงลำดับหรือแบ่งกลุ่มได้

    การจำแนก การจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ ออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจัดจำพวก เกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกัน แตกต่างกัน หรือสัมพันธ์กัน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ การกำหนดเกณฑ์อาจทำได้โดย การกำหนดขึ้นเอง หรือมีผู้อื่นกำหนดให้ การจำแนกประเภทอาจทำได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การแบ่งประเภทสิ่งของ เกณฑ์ที่ใช้มักเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว วัสดุที่ใช้ทำ ราคา หรือการนำไปใช้ ส่วนพวกสิ่งที่มีชีวิตมักจะใช้เกณฑ์ ลักษณะ รูปร่าง อาหาร ที่อยู่อาศัย การสืบพันธุ์ ประโยชน์ เป็นต้น การจำแนกประเภทไม่จำกัดอยู่เฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้ในสาขาวิชาอื่น และในชีวิตประจำวันได้ เช่น การจัดสิ่งของภายบ้านที่ต้องแยกออกตามประโยชน์ใช้สอย เช่น ของใช้ภายในครัว ของใช้ภายในห้องน้ำ ของใช้ภายในห้องนอน หรือของใช้ในร้านค้าต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันจะพบว่าสินค้าต่าง ๆ ที่วางขายในแต่ละส่วนนั้น จะถูกแบ่งแยกออกตามประโยชน์ใช้สอยทั้งสิ้น เช่นส่วนขายเสื้อผ้าเด็ก ส่วนขายเสื้อผ้าผู้หญิง ส่วนขายเครื่องไฟฟ้า เป็นต้น ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้เกิดความสะดวกในการหยิบใช้ และเป็นระเบียบสวยงาม
  💜จุดมุ่งหมายของทักษะการจำแนกโดยใช้เกณฑ์ที่ตนเองกำหนดขึ้น
1.แบ่งพวกสิ่งของ โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้ หรือโดยใช้เกณฑ์ที่ตนเองกำหนดขึ้น
2.เรียงลำดับสิ่งของ โดยใช้เกณฑ์ที่ผู้อื่นกำหนดให้ หรือในการแบ่งพวกสิ่งของที่ผู้อื่นจำแนกไว้แล้ว
3.บอกเกณฑ์ ในการเรียงลำดับสิ่งของที่ผู้อื่นเรียงลำดับไว้แล้ว
👾👾การจำแนกประเภท ทักษะพื้นฐานการสังเกต มีเกณฑ์ เช่น แยกผลไม้ 2 กลุ่ม หาเกณฑ์คือมีผลไม้อะไรที่มีสีเขียว หรือเกณฑ์รูปทรงกลม ขนาดรูปร่าง พื้นผิว

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
 สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเป   สกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง
  ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถอธิบายลักษณะของวัตถุ 2 มิติ และวัตถุ 3 มิติ ได้
– สามารถวาดรูป 2 มิติ จากวัตถุหรือรูป 3 มิติ ที่กำหนดให้ได้
– สามารถอธิบายรูปทรงทางเราขาคณิตของวัตถุได้
– สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ 2 มิติ กับ 3 มิติได้ เช่น ตำแหน่งหรือทิศของวัตถุ และตำแหน่งหรือทิศของวัตถุต่ออีกวัตถุ
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับเวลาได้
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงขนาด ปริมาณของวัตถุกับเวลาได้

👾👾ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปล สเปสกับเวลา เช่น เวลาเราวิ่งเราใช้เวลามาก พื้นที่น้อยแสดงว่าเราวิ่งช้าเป็นผกผัน เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์ สเปสกับสเปลคือพื้นที่กับพื้นที่ เช่นการผ่าผลไม้ อีกด้านหนึ่งเป็นแนวระนาบที่มีความแตกต่างกัน

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 6 การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถเลือกรูปแบบ และอธิบายการเลือกรูปแบบในการเสนอข้อมูลที่เหมาะสมได้
– สามารถออกแบบ และประยุกต์การเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปใหม่ที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย
– สามารถบรรยายลักษณะของวัตถุด้วยข้อความที่เหมาะสม กะทัดรัด และสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
   ข้อมูล หมายถึงข้อเท็จจริงที่จะนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือคำนวณ เราแบ่งข้อมูลตามระดับความยากง่ายในการทำความเข้าใจได้ 2 ประเภทคือ
1. ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจยาก ได้จากการสังเกต การวัด การจำแนก การคำนวณ ฯลฯ
2. ข้อมูลที่จัดกระทำแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งได้มาจากการนำข้อมูลดิบมาดัดแปลงใหม่นั่นเอง การดัดแปลงข้อมูลดิบให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นดังกล่าว สามารถทำได้ 4 วิธี คือ
  2.1 หาความถี่
  2.2 จัดลำดับ
  2.3 แยกประเภท
  2.4 คำนวณหาค่าใหม่
   การสื่อความหมายข้อมูลหมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้วมาแสดงหรือนำเสนอในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีก รูปแบบใหม่ที่สามารถแสดงหรือนำเสนอมีหลายรูปแบบเช่น
1. ตาราง               
2. แผนภูมิ
3. วงจร                  
4. กราฟ
5. สมการ              
6. บรรยาย

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี
   💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายหรือสรุปจากประเด็นของการเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้มาการลงความเห็นจากข้อมูล จึงมีลักษณะ ดังนี้
1. อธิบายหรือสรุป เกินข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
2. เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เช่น นำใบไม้ชนิดหนึ่งที่นักเรียนไม่เคยเห็นหรือรู้จักมาก่อนให้นักเรียนสังเกต แล้วถามว่าได้ข้อมูลอะไรจากใบไม้นั้นบ้าง
-ใบไม้มีสีเขียว ( ทักษะการสังเกต )
- ใบไม้มีขน ( ทักษะการสังเกต )
- ใบไม้มีรู 2 รู ( ทักษะการสังเกต )
- ใบไม้มีกลิ่นหอม ( ทักษะการสังเกต )
- ใบไม้คล้ายใบอ้อย ( ลงความเห็นจากข้อมูล )
- ใบไม้ถูกหนอนกินเป็นรู ( ลงความเห็นจากข้อมูล )
  การลงความเห็นจากข้อมูลที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เท่านั้น ไม่ได้เป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเป็นการลงความเห็นเกี่ยวกับสิ่งของหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะเรียกว่าการทำนาย

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
   💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถทำนายผลที่อาจจะเกิดขึ้นจากข้อมูลบนพื้นฐานหลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่มีอยู่ ทั้งภายในขอบเขตของข้อมูล และภายนอกขอบเขตของข้อมูลในเชิงปริมาณได้
👾👾การพยากรณ์ ต้องมีประสบการณ์ คาดคะเน ประมาณการ น่าจะ... เด็กคิดว่า.... เช่นนำผลไม้ไปกวนสิ่งที่นำไปกวนทำให้สุกแล้วเกิดความเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานๆ

😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍

2.ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ เป็นทักษะกระบวนการขั้นสูงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อแสวงหาความรู้ โดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เป็นพื้นฐานในการพัฒนา ประกอบด้วย
   ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองได้
– สามารถตั้งคำถามหรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆได้
ตัวอย่าง
👉ข้อมูล อากาศบ่ายวันนี้อบอ้าว มีเมฆดำลอยต่ำอยู่เต็มท้องฟ้า มดดำคาบไข่ออกจากรังย้ายไปอยู่บนที่สูง
👉พยากรณ์ ฝนกำลังจะตก ( อาศัยประสบการณ์ หรือความรู้เดิม )
👉ข้อมูล นายแดงเคยกินปูเค็มมาแล้ว 6 ครั้ง เขาพบว่าภายหลังที่กินปูเค็มทุกครั้งเขาจะมีอาการท้องเสีย
👉พยากรณ์ ถ้านายแดงกินปูเค็มอีกเขาจะท้องเสีย ( อาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล )
👉คำถาม ถ้านายแดงกินกุ้งแช่น้ำปลา จะเกิดผลอย่างไร
จะตอบคำถามนี้ได้ต้องตั้งสมมุติฐาน ( ทำนายอนาคต โดยไม่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูล กฎ หลักการ หรือทฤษฎี )

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล
   💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการทดลองได้

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม
👾ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลหรือสิ่งที่ต้องการทดลองเพื่อให้ทราบว่าเป็นสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นหรือไม่
👾ตัวแปรตาม คือ ผลที่เกิดจากการกระทำของตัวแปรต้นในการทดลอง
👾ตัวแปรควบคุม คือ ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่อาจมีผลมีต่อการทดลองที่ต้องควบคุมให้เหมือนกันหรือคงที่ขณะการทดลอง
    💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ สามารถกำหนด และอธิบายตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมในการทดลองได้

💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ

  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ
– สามารถออกแบบการทดลอง และกำหนดวิธี ขั้นตอนการทดลองได้ถูกต้อง และเหมาะสมได้
– สามารถระบุ และเลือกใช้อุปกรณ์ในการทดลองอย่างเหมาะสม
– สามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง
– สามารถบันทึกผลการทดลองได้อย่างถูกต้อง
  💜การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลอง เพื่อ
- บอกวิธีทดลอง ให้รู้ว่าจะทำการทดลอง หรือปฏิบัติอย่างไร
- เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ หรือสารเคมีที่จะใช้ทดลอง ให้รู้ว่าจะต้องใช้อะไร จำนวนเท่าไร และใช้อย่างไร
❤การออกแบบการทดลองที่ดี ต้องสามารถทดลองได้สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว เที่ยงตรง เห็นผลได้ชัดเจน และประหยัด
❤การปฏิบัติการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัตจริง ซึ่งจะต้องใช้ทักษะด้านอื่นๆ ประกอบอีกมาก เช่น ทักษะการวัด ทักษะการสังเกต ทักษะการใช้เครื่องมือต่างๆ เป็นต้น
❤การบันทึกผลการทดลอง เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการปฏิบัติกาารทดลอง กล่าวคือ เมื่อผู้ทดลองได้สังเกต ได้วัดปริมาณ ได้นับจำนวน หรือได้ให้คะแนน อย่างไร ก็บันทึกผลตามนั้น ลงในแบบบันทึกที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งแบบบันทึกนี้จัดเป็นวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ต้องเตรียมไว้
อาจสรุปได้ว่าผู้มีทักษะการทดลองควรมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- ออกแบบการทดลองได้เหมาะสม ( เที่ยงตรง รวดเร็ว ปลอดภัย ประหยัด ฯลฯ )
- เลือกวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในการทดลองได้เหมาะสม
- ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือได้ถูกต้อง คล่องแคล่ว ปลอดภัย
- บันทึกผลการทดลองได้เหมาะสม
- ทำความสะอาด จัดเก็บ อุปกรณ์หรือเครื่องมือได้

           💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูล และการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ
  การลงข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และการสรุปผลความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปประเด็นสำคัญของข้อมูลที่ได้จากการทดลองหรือศึกษา
  💜ความสามารถที่แสดงการเกิดทักษะ คือ
– สามารถในการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นสำคัญ รวมถึงการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะของข้อมูล
– สามารถบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลได้

          💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

   กระบวนการทดลอง
1.ตั้งหัวข้อหรือปัญหา
2.ตั้งสมมุติฐาน
3.การทดลอง ใช้ทักษะ สังเกต การวัด จำแนกรวบรวมข้อมูล นำเสนอ
  13 ทักษะ บางทักษะไม่ใช้กับเด็กปฐมวัย เราสามารถนำไปใช้บูรณาการได้
  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้นำกลับไปทำและอาจารย์ให้ดูตัวอย่างการทดลองจากบ้านนักวิทยาศาสตร์แล้วให้เลือกการทดลองที่มีทักษะ 5 กระบวนการ  นำเสนอ 5 ขั้นตอนให้เพื่อนๆได้ทดลองทำทุกคนจะได้การทดลองคนละ 1 แผ่นเพื่อนำไปพิมพ์แล้วรวบรวมส่งให้อาจารย์เพื่อนำไปอ่านหรือใช้ศึกษา ซึ่งตัวอักษรหัวข้อขนาด 20 ตัวอักษรปกติขนาด 16 










บรรยากาศในห้องเรียน







     💛คำศัพท์💛 
1.Interpreting data                 การตีความหมายข้อมูล 
2.Experimenting                     การทดลอง
3.Defining operationally            การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
4.Formulating hypotheses            การตั้งสมมติฐาน 
5.Classifying                       การจำแนกประเภท


การประเมิน

ประเมินตนเอง 💚 วันนี้ได้ความรู้ที่จะนำไปใช้จัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัยในเรื่องของวิทยาศาสตร์มากมาย อย่างเช่น การทดลองที่หลากหลายและร่วมตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นที่อาจารย์ได้กระตุ้นให้คิด

ประเมินเพื่อน💚 เพื่อนๆตั้งใจฟัง ได้ช่วยกันตอบ แสดงความคิดเห็น แต่บางคนอาจจะไม่ค่อยตอบมีเป็นบางส่วน

ประเมินอาจารย์💚 อาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษาตอบด้วยคำถามที่ใกล้เคียงกับคำตอบจนทำให้นักศึกษาตอบได้แล้วเข้าใจได้ง่าย และวันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานเข้าใจดีมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น