วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Record ★ 7

วันพุธ  ที18 กันยายน พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ
    
      ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองของแต่ละกลุ่มที่เตรียมมาซึ่งก่อนจะทำการทดลองอาจารย์ได้อธิบายอุปกรณ์ที่จะนำมาทดลองเราจะสอนเด็กให้รู้จักสิ่งต่างๆรอบตัว เราต้องนำอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายโดยไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องลงทุน อุปกรณ์ทุกอย่างการได้นำมาใช้ต้องมากกว่า 1 ครั้งและจะต้องสอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมด 13 ทักษะ

👱ขั้นตอนการทดลอง
1.สิ่งที่มีปัญหาหรือสิ่งที่อยากจะศึกษา
2.การตั้งสมมติฐาน การพยากรณ์หรือการคาดการณ์
3.การทดลอง ลงมือปฏิบัติ ( กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ )
4.สรุปผลการทดลอง

   หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษามานำเสนอการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยเรียงลำดับเป็นกลุ่ม



💗กลุ่มที่ 1 การทดลองลูกโป่งพองโต

สมาชิกในกลุ่ม

 1.นางสาวนภัสสร ก้านอินทร์
2.นางสาวพรรณทิภา มามุ้ย
  3.นางสาวนันทกา เนียมสูงเนิน
  4.นางสาวชนม์นิภา อินทจันทร์
5.นางสาวศรสวรรค์ เทพยศ


💦อุปกรณ์


1.ลูกโป่งหลายใบ(ก่อนทดลองควรเป่าลมให้ลูกโป่งยืดออก)
2.เบกกิ้งโซดา 
3.น้ำ
4.ถ้วยหรือชามเล็ก
5.ขวดแก้วปากแคบ
6.กรวยกระดาษหรือพลาสติก
7.กรดมะนาว
8.ช้อนชา
9.ถ้วยตวงขนาดเล็ก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.ใช้ปากกาเคมีขีดข้างถ้วยตวงที่ขีด 50 ซีซี เพื่อให้เด็กรู้ปริมาตรของน้ำที่ต้องเติม จากนั้นเทผงยาลดกรดลงในถ้วย 
2.เติมน้ำลงไปในขั้นตอนแรกให้เปรียบเทียบปริมาณก๊าซ CO 2 ที่เกิดขึ้นจากสารชนิดเดียวแต่มีปริมาณแตกต่างกัน โดยให้เด็ก
กลุ่มที่ 1 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 1 
กลุ่มที่ 2 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 2
กลุ่มที่ 3 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 3 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 3
3.เทน้ำปริมาณเท่ากันลงในขวดแต่ละใบ แล้วรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวดให้แน่น โดยให้เด็กหนึ่งคนจับขวดไว้ ส่วนอีกคนรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวด แล้วเขย่าขวดเบาๆ
4.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลูกโป่ง ลูกโป่งบนขวดใบไหนพองมากที่สุด และเทผงยาลดกรดลงไปเท่าไร เพื่อป้องกันการสับสน ให้เขียนป้ายแสดงปริมาณยาลดกรดที่ใส่ติดไว้ข้างขวด
    นอกจากผงยาลดกรด อาจใช้ผงฟู หรือสารละลายกรด มะนาวเบกกิ้งโซดา (อัตราส่วน3:1)มาทดลองแทนได้


 

 

 

💦สรุปผลการทดลอง
    สารที่นำมาทดลองนั้น ( ผงฟู ยาลดกรดชนิดผง และกรดมะนาวผสมเบกกิ้งโซดา)มีเบกกิ้งโซดา และกรดผสมอยู่ ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวดูได้จากฉลากบนบรรจุภัณฑ์ โดยในยาลดกรดชนิดผงจะมีกรดมะนาวผสมอยู่ ส่วนผงฟูมีกรดชนิดอื่นผสม ก๊าซ CO2จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำผสมกับสาร ปฏิกิริยาเคมีระหว่างเบกกิ้งโซดากับกรดจะเกิดขึ้นเมื่อสารทั้งสองชนิดละลายอยู่ในสารละลายกรดหรือมีกรดเจอปนอยู่ เช่น น้ำมะนาว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
  ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้นหลายชนิดที่แตกต่างกันทำให้ได้ผลไม้ที่แตกต่างกัน สำหรับการทดลองนี้ ผลที่เกิดจากเบกกิ้งโซดาและกรดมะนาวคือ ก๊าซ CO2 เมื่อสารตั้งต้นถูกใช้จนหมด ปฏิกิริยาเคมีก็จะหยุดเช่นกัน เมื่อเทน้ำมะนาวลงในผงฟูแทนน้ำ จะเกิดฟองก๊าซฟูขึ้นอย่างรุนแรง เพราะสารละลายกรดเข้มข้นมากกว่า
  เมื่อปล่อยก๊าซ CO2ลูกโป่งจะตกสู่พื้นดินเร็วกว่าลูกโป่งที่เป่าอากาศเข้าไป เนื่องจากก๊าซ CO2มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ

👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾


💗กลุ่มที่ 2 การทดลองภูเขาไฟ

สมาชิกในกลุ่ม

      1.นางสาวเบญจวรรณ ปานขาว
 2.นางสาวชนิตา โพธิ์ศรี
 3.นางสาวชฎาพร คำผง
    4.นางสาวปิยาภรณ์ วงษ์ป้อม
  5.นางสาวชลิตา ภูผาแนบ


💦อุปกรณ์

1.เบกกิ้งโซดา
2.น้ำส้มสายชู
3.สีผสมอาหาร
4.ดินน้ำมัน
5.แก้วพลาสติก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เทน้ำส้มสายชูประมาน 1 ส่วน 3 ของแก้ว ลงไปในปล่องภูเขาไฟ
2.เติมเบกกิ้งโซดาลงไปในปล่องภูเขาไฟ
3.สังเกตการเกิดฟองออกมาจากปล่องภูเขาไฟ





💦สรุปผลการทดลอง
     การทดลองกิจกรรมภูเขาไฟระเบิดโดยใส่สารต่างๆตามวิธีของตนเอง ว่าจะใส่สารอะไรก่อนหลัง เช่น ใส่เบกกิงโซดา น้ํายําล้างจาน สีผสมอาหาร จะทำให้เกิดฟองไหลออกมาจาก ปล่องภูเขําคล้ายลาวา ในลาวาที่ไหลออกมาเกิดจากเบกกิงโซดําผสมกับของเหลวจนเกิดเป็นก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์
👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾

   หลังจากที่กลุ่มที่ 2 ได้นำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้ไปประชุมซึ่งในแต่ละกลุ่มจะต้องอัดคลิปวิดีโอเพื่อจะส่งให้อาจารย์ได้ตรวจดูความเรียบร้อยและควรที่จะปรับปรุงตรงไหนบ้าง


                          👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾


💗กลุ่มที่ 3 การทดลองการแยกเกลือกับพริกไทย

สมาชิกในกลุ่ม

  1.นางสาวอมรรัตน์ คงสวัสดิ์
 2.นางสาวจิรกิตติ์ ถิ่นพันธ์
      3.นางสาวขวัญฤทัย นีลวัณโณ  
    4.นางสาวกัลยกร เกิดสมบูรณ์
     5.นางสาวธัญญลักษณ์ บุญเรียง


💦อุปกรณ์



1.ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น)
2.เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง
3.พริกไทยป่น
4.ชามใบเล็กหรือจานลอง 2 ใบ
5.วัสดุสังเคราะห์( เช่นช้อนพลาสติก )

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.นำเกลือและพริกไทยผสมกันในจาน
2.นำช้อนพลาสติกา ถูผ้าขนสัตว์ 
3.ถือช้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลือ และอย่าถือช้อนใกล้กับส่วนผสมมากจนเกินไป 
  



💦สรุปผลการทดลอง 
   เมื่อเกิดการเสียดสีอิเล็กตรอนจากทอขนสัตว์จากเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวของช้อนพลาสติก (เกิดการถ่ายเทประจุ) ช้อนพลาสติกจึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ ส่วนผ้าขนสัตว์มีสถานะทางไฟฟ้าเป็นบวก เพราะ สูญเสียอิเล็กตรอน
   วัสดุที่มีไฟฟ้าสถิตสามารถทำให้เกิดการเครื่อรย้ายของประจุไฟฟ้าในวัสดุอีกวัสดุหนึ่งที่เป็นกลางได้ เช่น ผงเครื่องปรุงเกลือและพริกไทย เนื่องจากการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนจากอะตอมทุกๆอะตอมไปยังอีกด้านหนึ่ง

   ผงปรุงด้านที่อยู่ใกล้จึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ และพื้นผิวด้านไกลเป็นบวก ช้อนจึงดึงดูดด้านบวกของเม็ดพริกไทยขึ้นมาติดกับผิวช้อนซึ่งมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ


👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾


💗กลุ่มที่ 4 การทดลองลูกข่างหลากสี( การทดลองเชิงสื่อ )

สมาชิกในกลุ่ม

  1.นางสาวกนกอร เกาะสังข์
2.นางสาวชลิดา ทารักษ์
   3.นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์
 4.นางสาวดาวจุฬา สินตุ้น


💦อุปกรณ์

1.กระดาษสีขาวและกระดาษสี
2.แผ่นซีดี
3.ดินน้ำมัน
4.ลูกแก้ว
5.กรรไกร
6.กาวแท่ง
7.ดินสอและปากกาเคมี

💦ขั้นตอนการทดลอง                                                                                                                       1.ใช้แผ่นซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษ
ตัดออกมาระบายสีลงบนแผ่นกระดาษวงกลม
2.ระบายสีตกแต่งลูกข่างกระดาษด้วยสีที่เทียนเมื่อลูกข่างหมุนจะเกิดเป็นการผสมสี
3.ใช้กาวติดแผ่นซีดีกับแผ่นกระดาษวงกลมที่ระบายสี
4.เจาะรูบนกระดาษให้ตรงกับตำแหน่งของรูบนแผ่นซีดีวางแก้วบนรู้แผ่นซีดียึดให้แน่นด้วยดินน้ำมันหรือกาวร้อน


💦สรุปผลการทดลอง
    การทดลองนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถเพื่อให้ลูกข่างแผ่นซีดีหมุนอยู่กับที่ให้วางแผ่นซีดีในรูของแผ่นซีดีเปล่าทำให้เราเห็นสีต่างๆเนื่องจากเซลล์รับรู้ของตาเราไวต่อแสงสี 3 สีหลัก ได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียว ถูกกระตุ้นถ้ามีสีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราไม่สามารถแยกสิ่งต่างๆได้ทันจึงเห็นสีต่างๆผสมเป็นสีเดียวกัน


👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾


💗กลุ่มที่ 5 การทดลองมาสนุกกับฟองสบู่

สมาชิกในกลุ่ม

       1.นางสาวศิริเมษา ทักษิณ
2.นายนภสินธุ์ พุ่มพุฒ
          3.นางสาวสาธินี จันทรามาศ
       4.นางสาวสุธิดา ยศรุ่งเรือง


💦อุปกรณ์


1.ชามขนาดใหญ่และเติมน้ำให้เต็ม
2.ภาชนะพร้อมฝาปิด (ไม่ควรใช้ขวดน้ำ)
3.น้ำยาล้างจาน
4.น้ำ
5.หลอดดูด 2 หลอด

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.การผสมน้ำสบู่ใช้ส่วนผสมนี้ น้ำยาล้างจาน 1 ส่วน และน้ำ 4 ส่วน (รูปที่ 2) หรืออาจผสมน้ำสบู่ด้วยอัตราส่วนอื่นได้ ถ้ามี กลีเซอรีน ก็สามารถเพิ่มปริมาณน้ำยาล้างจานเพิ่มขึ้นได้ ข้อสำคัญคือ น้ำสบู่ที่ใช้ต้องสามารถทำให้เกิดฟองได้ดี เพื่อให้เห็นปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น หรือสารละลายน้ำสบู่สำเร็จรูปมาใช้ในการทดลอง แต่ต้องทดลองด้วยตัวเองก่อนที่จะนำมาให้เด็กๆทดลอง
2.คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดฟองมาก และวางทิ้งไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง
3.ลองนำหลอดดูดมาเป่าน้ำในชาม





💦สรุปผลการทดลอง
  น้ำประกอบไปด้วยโมเลกุลเล็กๆจำนวนมากซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โมเลกุลของน้ำจะซ้อนทับกัน และยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงพันธะไฮโดรเจน จับตัวกันเป็นผิวน ซึ่งเท่อถูกอากาศที่เป่าลงไปดันขึ้น โมเลกุลของน้ำจับตัวกันแน่นทำให้เกิดแรงตึงผิว เป็นผลทำให้ฟองซึ่งเกิดจากการเป่าในน้ำนั้นแตกอย่างรวดเร็ว
  สารบางชนิดในชนิดสบู่ทำให้ผิวของน้ำสามารถยืดหยุ่นได้เช่นเดียวกับยาง ทั้งยังสามารถดึงให้ยืดยาวและพองโตขึ้นได้โดยไม่แตก “ทำไมจึงมองเห็นผิวของฟองสบู่มีสีแตกต่างกัน” คำถามนี้อธิบายได้ว่า แสงไม่ได้มีสีขาวแต่เกิดจากแสงสีหลายสีรวมกัน (สีรุ้ง) สีที่เห็นบนฟองสบู่เกิดจากส่วนหนึ่งขอองแสงส่องผ่านผิวฟองสบู่ จึงเห็นเป็นแสงสีต่างๆ ตัวอย่างเช่น การเห็นสีแดงบนฟองสบู่นั้นเกิดจากแสงสีอื่นถูกดูดกลืนไว้และสะท้อนแสงสีแดงออกมา เราจึงเห็นเป็นแสงสีแดง


👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾

💗กลุ่มที่6 การทดลองภาพเคลื่อนไหวในแสงสีแดงและสีเขียว

สมาชิกในกลุ่ม

 1.นางสาวอภิญญา แก้วขาว
 2.นางสาวปทุมแก้ว ขุนทอง
3.นางสาวปุณยวีร์ ยานิตย์
 4.นางสาวอรนภา ขุนวงค์ษา



💦อุปกรณ์


1.แผ่นใสสีแดงและสีเขียว
2.เทปกาว
3.กรรไกร
4.ปากกาเคมีหรือดินสอสีแดงและสีเขียว

💦ขั้นตอนการทดลอง


1.เปรียบเทียบสีของปากกาเคมีและแผ่นใสที่ใช้ให้กลมกลืน  ลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีแดง เมื่อวางแผ่นใสสีแดงทาบลงไป จะต้องมองไม่เห็นเส้นสีแดง แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียวจะต้องเห็นเส้นสีแดงได้ชัดเจน
2.จากนั้นลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีเขียว เมื่อวางแผ่นใสสีเขียวทาบลงไป เราจะมองไม่เห็นเส้นสีเขียว แต่จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดง ถ้าหาปากกาเคมีสีเขียวที่กลมกลืนกับแผ่นใสสีเขียวไม่ได้ อาจใช้แค่ปากกาเคมีสีแดงสีเดียวก็ได้
3.ตัดแผ่นใสสีแดงและสีเขียวให้มีขนาดเท่ากับไปรษณียบัตรวางแผ่นใสสีแดงและสีเขียวชิดกัน ติดด้วยเทปกาวใส ตัดทั้งสี่มุมให้มน
4.วาดภาพง่ายๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เช่น รูปใบหน้าคน ลงบนกระดาษสีขาว ภาพที่วาดไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นใสสีเขียวแดงที่เตรียมไว้
 - ใช้ปากกาเคมีสีแดงเติมรายละเอียดลงไปในภาพ เช่น แลบลิ้น เป็นต้น
 - นำแผ่นใสสีเขียว แดง ที่ทำไว้มาวางบนภาพ และเลื่อนไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน
5.วาดภาพแบบอื่นๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เติมรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวไปมาด้วยปากกาเคมีสีแดง เช่น
  - เทียนสีดำกับเปลวไฟสีแดง
  - หมวกสีดำกับกระต่ายสีแดง
  - มังกรสีดำกำลังพ่นไฟสีแดง
•อาจใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวได้เช่นกัน

💦สรุปผลการทดลอง
 เรามองเห็นภาพที่วาดด้วยปากกาเคมีสีดำผ่านแผนใสทั้งสองสี แต่รายละเอียดของภาพที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวต้องวาดด้วยสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น เราไม่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวจากสีทั้งสองสีพร้อมกันได้
เมื่อวางแผ่นใสสีแดงลงบนกระดาษสีขาว จะเห็นกระดาษเป็นสีแดงถ้าวาดภาพบนกระดาษสีแดงด้วยปากกาเคมีสีแดงจะเห็นเหมือนกับว่าใช้ปากกาเคมีสีแดงวาดรูปลงบนกระดาษสีแดง สีของภาพและกระดาษเหมือนกันเราจึงมองไม่เห็นภาพที่วาด ซึ่งจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับแผ่นใสสีเขียวและปากกาเคมีสีเขียว
  แผ่นใสสีเขียวดูดกลืนแสงที่สะท้อนมาจากสีแดง ดังนั้นเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียว เราจึงเห็นสีแดงเป็นสีดำ
สีแดงและสีเขียวเหมาะสำหรับศึกษาเรื่องการมองเห็นสี เพราะเป็นสีตรงกันข้าม เนื่องจากส่วนผสมของสีแดงและสีเขียวไม่มีส่วนที่เหมือนกัน

👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾👾

      หลังจากที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอการทดลองอาจารย์ได้ให้คำแนะนำวิธีการจัดเตรียมหรือเพิ่มขั้นตอนตรงไหนบ้างเพื่อที่จะนำไปทดลองให้กับเด็กที่ซอยเสือใหญ่ซึ่งสิ่งที่ทุกกลุ่มต้องเตรียมอุปกรณ์
1.ผ้าลองอุปกรณ์การทดลอง
2.ที่ใส่อุปกรณ์ ( ตะกร้า )
3.แผ่นชาร์ต  ( ขั้นตอนการทดลอง )

   อาจารย์ได้ให้เพื่อนเพื่อนในห้องแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงในการออกมานำเสนอในแต่ละกลุ่ม
❤️❤️การมีส่วนร่วมของเพื่อนที่จะออกไปทดลองด้วย อย่างเช่น การพูดคุย ถาม-ตอบ จากความรู้เดิม ควรใช้คำถามแบบปลายเปิด เช่นทำไม  เพราะอะไร. เกิดขึ้นอย่างไร  How to .... ?
❤️❤️ขั้นตอนของการปฏิบัติให้ชัดเจน
❤️❤️จัดสภาพแวดล้อมเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

   เมื่อทุกกลุ่มได้อัดคลิปวิดีโอการทดลองเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มเปิดคลิปวิดีโอดูเพื่อที่จะบอกถึงการปรับปรุงของแต่ละกลุ่มให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกัน



บรรยากาศในห้องเรียน






   💜💛คำศัพท์💛💜

1.Test                การทดลอง
2.Volcano             ภูเขาไฟ
3.Balloons            ลูกโป่ง
4.Comment             แสดงความคิดเห็น
5.Soap bubbles        ฟองสบู่

การประเมิน

ประเมินตนเอง 👱 วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอการทดลองเป็นกระบวนการที่สมบูรณ์และชัดเจนมีการแสดงความคิดเห็นในแต่ละกลุ่มของเพื่อน แล้ววันนี้ได้ออกไปนำเสนอการทดลองทำให้ตนเองได้มีความมั่นใจมากขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมห้อง 👱 เพื่อนๆในแต่ละกลุ่มตั้งใจทดลองของกลุ่มตนเองและตั้งจัยรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงของอาจารย์และของเพื่อนในห้องเรียนสามารถนำไปปรับใช้เมื่อเราไปทดลองให้เด็กได้

ประเมินอาจารย์ 👱 อาจารย์ได้พูดถึงกระบวนการทดลองได้ชัดเจนและได้บอกเป็นขั้นตอนเพื่อที่จะนำการทดลองไปปรับใช้กับเด็กทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและอาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษาเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น