ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนสำหรับวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการทดลองที่แต่ละกลุ่มจะมานำเสนอเพื่อใช้ในการทดลองจริงกับเด็กซึ่งอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มบอกวัสดุอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้างจะได้สั่งของได้ทันหรือบางกลุ่มอาจารย์ให้หาด้วยตนเองแต่อาจารย์จะเสริมอุปกรณ์เครื่องเขียน อย่างเช่นสีเมจิก กระดาษA4 แม็ค มีดคัตเตอร์ ซึ่งต้องดูงบประมาณของรายวิชานี้
👱กิจกรรมที่ 1
การทดลองและทบทวน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
อาจารย์ให้คิดว่าวันนี้อาจารย์ได้สั่งให้ทำอะไรซึ่งอาจารย์ให้นำเสนอการทดลองว่าแต่ละกลุ่มจะเอาเรื่องอะไร
💗กลุ่มที่ 1 ลูกโป่งพองโต
💗กลุ่มที่ 2 การแยกเกลือและพริกไทย
💗กลุ่มที่ 3 สนุกกับฟองสบู่
💗กลุ่มที่ 4 ภูเขาไฟ
💗กลุ่มที่ 5 การกำเนิดดวงอาทิตย์
สัปดาห์ถัดไปอาจารย์จะให้นักศึกษานำการทดลองเรื่องที่ตนเองได้เลือกไว้และเตรียมอุปกรณ์ ถ่ายคลิปวิดีโอให้เรียบร้อย หลังจากนั้นอาจารย์ได้ทบทวนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ
💛ทักษะที่ 1 การสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสของร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กายสัมผัส เข้าสัมผัสกับวัตถุหรือเหตุการณ์เพื่อให้ทราบ และรับรู้ข้อมูล รายละเอียดของสิ่งเหล่านั้น โดยปราศจากความคิดเห็นส่วนตน ข้อมูลเหล่านี้จะประกอบด้วย ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการสังเกต
💛ทักษะที่ 3 การคำนวณ (Using numbers) หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุ และการนำตัวเลขที่ได้จากนับ และตัวเลขจากการวัดมาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นต้น โดยการเกิดทักษะการคำนวณจะแสดงออกจากการนับที่ถูกต้อง ส่วนการคำนวณจะแสดงออกจากการเลือกสูตรคณิตศาสตร์ การแสดงวิธีคำนวณ และการคำนวณที่ถูกต้อง แม่นยำ
💛ทักษะที่ 4 การจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การเรียงลำดับ และการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือรายละเอียดข้อมูลด้วยเกณฑ์ความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ใดๆอย่างใดอย่างหนึ่ง
💛ทักษะที่ 5 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Using space/Time relationships)
สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองอยู่ ซึ่งอาจมีรูปร่างเหมือนกันหรือแตกต่างกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสของวัตถุ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 มิติ กับ 2 มิติ ความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับวัตถุหนึ่ง
ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสของวัตถุกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุกับช่วงเวลา หรือความสัมพันธ์ของสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา
💛ทักษะที่ 6 การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Communication) หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และการวัด มาจัดกระทำให้มีความหมาย โดยการหาความถี่ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การคำนวณค่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น ผ่านการเสนอในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ วงจร เขียนหรือบรรยาย เป็นต้น
💛ทักษะที่ 7 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มความคิดเห็นของตนต่อข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลจากพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่มี
💛ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การทำนายหรือการคาดคะเนคำตอบ โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทำซ้ำ ผ่านกระบวนการแปรความหายของข้อมูลจากสัมพันธ์ภายใต้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
💛ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating hypotheses) หมายถึง การตั้งคำถามหรือคิดคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลองเพื่ออธิบายหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรโดยสมมติฐานสร้างขึ้นจะอาศัยการสังเกต ความรู้ และประสบการณ์ภายใต้หลักการ กฎ หรือทฤษฎีที่สามารถอธิบายคำตอบได้
💛ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining operationally) หมายถึง การกำหนด และอธิบายความหมาย และขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือการทดลองเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างบุคคล
💛ทักษะที่ 11 การกำหนด และควบคุมตัวแปร (Identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ และกำหนดลักษณะตัวแปรใดๆให้เป็นเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดๆให้เป็นตัวแปรควบคุม
💛ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experimenting) หมายถึง กระบวนการปฏิบัติ และทำซ้ำในขั้นตอนเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐาน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. การออกแบบการทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนการทดลองจริงๆ เพื่อกำหนดวิธีการ และขั้นตอนการทดลองที่สามารถดำเนินการได้จริง รวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการทดลองเพื่อให้การทดลองสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. การปฏิบัติการทดลอง หมายถึง การปฏิบัติการทดลองจริง
3. การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผลจากการสังเกต การวัดและอื่น ๆ
💛ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อมูล (Interpreting data and conclusion) หมายถึง การแปรความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายข้อมูลในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการคำนวณ
💚การวัด คำนวณ เปรียบเทียบ คือ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
👾กระบวนการทดลอง (ลงมือปฏิบัติ)
1.ตั้งหัวข้อหรือปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน ประเด็นปัญหา คาดการณ์พยากรณ์
3.การทดลอง ใช้ทักษะการสังเกตเห็นแล้วตีความ ลงความเห็น สรุป เป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในงานของเรา (การสังเกต การวัด การจำแนก รวบรวมข้อมูล การนำเสนอ)
👱กิจกรรมที่ 2
เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งน้ำ
หลังจากที่ทุกกลุ่มวาดภาพ ระบายสีเสร็จอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มหาแก้วน้ำพลาสติกซึ่งเราสามารถนำขวดน้ำมาตัดแบ่งครึ่งได้เพื่อจะนำไปทำกิจกรรมแล้วให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอภาพที่ได้วาดภาพ ระบายสีออกมาให้เพื่อนทาย
อุปกรณ์
1.กระดาษบรูฟ
2.สีเมจิก
3.สีเทียน
💥กลุ่มที่ 1 เขื่อนเชี่ยวหลาน
จุดเด่น มีภูเขาเป็นรูปทรง แพ
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
💥กลุ่มที่ 2 ทะเลแหวก จังหวัดกระบี่
จุดเด่น มีทรายตรงกลางมีน้ำ 2 ข้าง สัตว์ทะเล
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
💥กลุ่มที่ 3 น้ำตก 7 สาวน้อย
จุดเด่น มีนก 7 ตัว กลุ่มนี้ไม่สื่อถึงภาพที่เห็นได้ชัดเจน
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
💥กลุ่มที่ 4 เขื่อนลำตะคอง
จุดเด่น มีถนน สะพาน มีภูเขาอยู่ข้างๆ
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
💥กลุ่มที่ 5 แม่น้ำโขง
จุดเด่น สะพานข้ามไทย-ลาว จังหวัดนครพนม มีพญานาค 7 เศียร
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
กลุ่มที่ 6 แม่น้ำเจ้าพระยา
จุดเด่น โรงพยาบาล ศิริราช สะพานพระราม 8 เรือสินค้า วัดอรุณราชวราราม เอเชียร์ทีค
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟
⭐️ กลุ่มที่เป็นแหล่งน้ำไม่เป็นธรรมชาติ 👉 เขื่อนเชี่ยวหลาน เขื่อนลำตะคอง
สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้
❤️แหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ที่ที่มีน้ำอยู่มากมายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
❤️แหล่งน้ำที่ไม่เป็นธรรมชาติคือเป็นแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างเช่น เขื่อน
❤️การที่เราตอบได้เกิดจากประสบการณ์เดิมที่เราเคยพบเห็นหรือดูจากรูปภาพ
❤️การทำงานกลุ่มได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นการฟังยอมรับแล้วนำมาสรุป
เมื่อนำจัดกิจกรรมนี้ให้กับเด็ก จะได้ทักษะ.....
1.การสังเกต เด็กสามารถสังเกตรายละเอียดเพื่อทายสิ่งที่เห็น
2.การวิเคราะห์ สิ่งที่น่าจะเป็นตัวย่อยๆ ของสถานที่
3.การเชื่อมโยง ด้านความคิดกับประสบการณ์เดิม มีการต่อยอด
4.การตีความ น่าจะเป็นแบบนี้
สาระที่เกี่ยวข้อง การคิดเชื่อมโยงจินตนาการ( ศิลปะ ) ภาษา คณิตศาสตร์
1.การฟัง ฟังเพื่อนเวลาเพื่อนตอบ มีการสื่อสารโต้ตอบ
2.การพูด อธิบายสิ่งที่สังเกตเห็น ใช้คำศัพท์แทนภาพ เล่าเรื่อง บรรยายภาพ
3.การอ่าน อ่านภาพ สิ่งที่เห็นความหมายคำแต่ไม่ใช่ตัวหนังสือ
4.การเขียน เขียนตามที่เด็กตอบเด็กได้เห็นการเขียน วาดภาพ ลงลายเส้น
ด้านคณิตศาสตร์
👨บอกเวลา อย่างเช่น ตอนเช้าพระอาทิตย์ขึ้น
👨ความน่าจะเป็น อย่างเช่น คาดว่าจะเป็นที่นี่
👨รูปทรง รูปร่าง ความลึก ความกว้าง
👨จำนวน
👱กิจกรรมที่ 3
การสร้างแท็งก์น้ำ
อาจารย์ให้กระดาษหนังสือพิมพ์โดยการสร้างแท๊งค์น้ำจะสูงไม่ต่ำกว่า 24 นิ้วสามารถนำพานมาวางบนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เป็นแท็งก์น้ำได้แล้วนับ 1 - 10 ถ่ายส่งให้อาจารย์ใน pellet
อุปกรณ์
1.กระดาษหนังสือพิมพ์
2.กระดาษกาว
วิธีการทำ
1.วางแผน ร่างภาพลงบนกระดาษ A4 ว่าเราจะคิดรูปแบบการสร้างแท๊งค์น้ำแบบไหน
2.ลงมือทำตามความคิดแล้วนำกระดาษหนังสือพิมพ์กับกระดาษกาวมาติดให้คงทน
3.นำพานมาวางบนแท็งก์น้ำเราสร้างขึ้น
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 1
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 2
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 3
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 4
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 5
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
👾กลุ่มที่ 6
💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢💢
😄บรรยากาศในห้องเรียน😄
😁คำศัพท์😁
1.Observing การสังเกต
2.Measuring การวัด
3.Using numbers การคำนวณ
4.Predicting การพยากรณ์
5.Water source แหล่งน้ำ
ประเมินตนเอง 😃 ในวันนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะและได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับแหล่งน้ำ วาดภาพระบายสี ทำงานร่วมกับเพื่อนช่วยกันคิด ซึ่งมีการสร้างแท๊งค์น้ำจากกระดาษหนังสือพิมพ์ทำให้เราต้องช่วยกันคิดมากกว่าเดิม
ประเมินเพื่อน 😃 เพื่อนๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีมาก ช่วยกันคิดในการสร้างผลงานและออกมานำเสนอ ช่วยกันวาดภาพ ระบายสีระดมความคิดการสร้างแท๊งค์น้ำ
ประเมินอาจารย์ 😃 อาจารย์ได้กระตุ้นให้นักศึกษาคิดและสื่อออกมาโดยการพูดเป็นสิ่งที่ดีมาก ในเรื่องของการทำกิจกรรมกลุ่ม อธิบายแต่ละกิจกรรมได้ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น