วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Record ★ 10

วันพุธ  ที่ 30  ตุลาคม  พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษามาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆที่มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ มีทั้งเด็กอนุบาล 1 เด็กอนุบาล 2  เด็กอนุบาล 3  มีจำนวน 30 คน ซึ่งวันนี้อาจารย์ให้มาจัดกิจกรมการทดลองทั้งหมด 3 กลุ่ม แล้วเพื่อนๆที่ไม่ได้จัดกิจกรรมให้ช่วยดูแลน้องๆในการทำกิจกรรม นักศึกษาจะจัดให้เด็กๆเดินวนฐานต่างๆ

💓ฐานที่ 1 การทดลองแยกเกลือกับพริกไทย

ภาพกิจกรรมการทดลอง







สมาชิกในกลุ่ม

     1.นางสาวอมรรัตน์ คงสวัสดิ์
   2.นางสาวจิรกิตติ์ ถิ่นพันธ์
        3.นางสาวขวัญฤทัย นีลวัณโณ  
      4.นางสาวกัลยกร เกิดสมบูรณ์
       5.นางสาวธัญญลักษณ์ บุญเรียง

คลิปวิดีโอการทำกิจกรรม









💦อุปกรณ์
1.ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เป็นต้น)
2.เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง
3.พริกไทยป่น
4.ชามใบเล็กหรือจานลอง 2 ใบ
5.วัสดุสังเคราะห์( เช่นช้อนพลาสติก )

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.นำเกลือและพริกไทยผสมกันในจาน
2.นำช้อนพลาสติกา ถูผ้าขนสัตว์ 
3.ถือช้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลือ และอย่าถือช้อนใกล้กับส่วนผสมมากจนเกินไป 

💦สรุปผลการทดลอง 
   เมื่อเกิดการเสียดสีอิเล็กตรอนจากทอขนสัตว์จากเคลื่อนที่ไปยังพื้นผิวของช้อนพลาสติก (เกิดการถ่ายเทประจุ) ช้อนพลาสติกจึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ ส่วนผ้าขนสัตว์มีสถานะทางไฟฟ้าเป็นบวก เพราะ สูญเสียอิเล็กตรอน
   วัสดุที่มีไฟฟ้าสถิตสามารถทำให้เกิดการเครื่อรย้ายของประจุไฟฟ้าในวัสดุอีกวัสดุหนึ่งที่เป็นกลางได้ เช่น ผงเครื่องปรุงเกลือและพริกไทย เนื่องจากการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนจากอะตอมทุกๆอะตอมไปยังอีกด้านหนึ่ง
   ผงปรุงด้านที่อยู่ใกล้จึงมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ และพื้นผิวด้านไกลเป็นบวก ช้อนจึงดึงดูดด้านบวกของเม็ดพริกไทยขึ้นมาติดกับผิวช้อนซึ่งมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นลบ

💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟

💓ฐานที่ 2 การทดลองลูกโป่งพองโต

ภาพกิจกรรมการทดลอง



สมาชิกในกลุ่ม

   1.นางสาวนภัสสร ก้านอินทร์

  2.นางสาวพรรณทิภา มามุ้ย

    3.นางสาวนันทกา เนียมสูงเนิน

    4.นางสาวชนม์นิภา อินทจันทร์

  5.นางสาวศรสวรรค์ เทพยศ



💦อุปกรณ์     
1.ลูกโป่งหลายใบ(ก่อนทดลองควรเป่าลมให้ลูกโป่งยืดออก)
2.เบกกิ้งโซดา 
3.น้ำ
4.ถ้วยหรือชามเล็ก
5.ขวดแก้วปากแคบ
6.กรวยกระดาษหรือพลาสติก
7.กรดมะนาว
8.ช้อนชา
9.ถ้วยตวงขนาดเล็ก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.ใช้ปากกาเคมีขีดข้างถ้วยตวงที่ขีด 50 ซีซี เพื่อให้เด็กรู้ปริมาตรของน้ำที่ต้องเติม จากนั้นเทผงยาลดกรดลงในถ้วย 
2.เติมน้ำลงไปในขั้นตอนแรกให้เปรียบเทียบปริมาณก๊าซ CO 2 ที่เกิดขึ้นจากสารชนิดเดียวแต่มีปริมาณแตกต่างกัน โดยให้เด็ก
กลุ่มที่ 1 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 1 
กลุ่มที่ 2 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 2
กลุ่มที่ 3 เทมะนาวเบกกิ้งโซดา 3 ช้อนชาลงในขวดใบที่ 3
3.เทน้ำปริมาณเท่ากันลงในขวดแต่ละใบ แล้วรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวดให้แน่น โดยให้เด็กหนึ่งคนจับขวดไว้ ส่วนอีกคนรีบนำลูกโป่งมาครอบปากขวด แล้วเขย่าขวดเบาๆ
4.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลูกโป่ง ลูกโป่งบนขวดใบไหนพองมากที่สุด และเทผงยาลดกรดลงไปเท่าไร เพื่อป้องกันการสับสน ให้เขียนป้ายแสดงปริมาณยาลดกรดที่ใส่ติดไว้ข้างขวด
    นอกจากผงยาลดกรด อาจใช้ผงฟู หรือสารละลายกรด มะนาวเบกกิ้งโซดา (อัตราส่วน3:1)มาทดลองแทนได้

💦สรุปผลการทดลอง
    สารที่นำมาทดลองนั้น ( ผงฟู ยาลดกรดชนิดผง และกรดมะนาวผสมเบกกิ้งโซดา)มีเบกกิ้งโซดา และกรดผสมอยู่ ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวดูได้จากฉลากบนบรรจุภัณฑ์ โดยในยาลดกรดชนิดผงจะมีกรดมะนาวผสมอยู่ ส่วนผงฟูมีกรดชนิดอื่นผสม ก๊าซ CO2จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำผสมกับสาร ปฏิกิริยาเคมีระหว่างเบกกิ้งโซดากับกรดจะเกิดขึ้นเมื่อสารทั้งสองชนิดละลายอยู่ในสารละลายกรดหรือมีกรดเจอปนอยู่ เช่น น้ำมะนาว น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
  ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารตั้งต้นหลายชนิดที่แตกต่างกันทำให้ได้ผลไม้ที่แตกต่างกัน สำหรับการทดลองนี้ ผลที่เกิดจากเบกกิ้งโซดาและกรดมะนาวคือ ก๊าซ CO2 เมื่อสารตั้งต้นถูกใช้จนหมด ปฏิกิริยาเคมีก็จะหยุดเช่นกัน เมื่อเทน้ำมะนาวลงในผงฟูแทนน้ำ จะเกิดฟองก๊าซฟูขึ้นอย่างรุนแรง เพราะสารละลายกรดเข้มข้นมากกว่า
  เมื่อปล่อยก๊าซ CO2ลูกโป่งจะตกสู่พื้นดินเร็วกว่าลูกโป่งที่เป่าอากาศเข้าไป เนื่องจากก๊าซ CO2 มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ

💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟

💓ฐานที่ 3 การทดลองทรายน้ำมัน

ภาพกิจกรรมการทดลอง


สมาชิกในกลุ่ม

     1.นางสาวศิริเมษา ทักษิณ
  2.นายนภสินธุ์ พุ่มพุฒ
      3.นางสาวสาธินี จันทรามาศ
     4.นางสาวสุธิดา ยศรุ่งเรือง

💦อุปกรณ์
1. ภาชนะสำหรับล้างทรายหรือกรวด
2. น้ำมันพืช
3. ถ้วยตวงใส่น้ำ
4. ทรายหรือกรวด

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เทน้ำมันพืชใส่ในแก้วใบเล็กของเด็กต่ละคน (ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ)
2.เทน้ำลงในขวดแยมประมาณ 3/4 ขวด ต่อจากนั้นใส่ทรายหรือกรวด (หรือวัสดุที่เตรียมมา)ลงไป 4 ช้อนชา และคนให้เข้ากัน
3.เทน้ำมันพืชจากแก้วใบเล็กลงในขวดแยม และปิดฝาให้แน่น
4.เขย่าขวดหลายๆครั้ง แล้วนำไปสางบนโต๊ะเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง

💦สรุปผลการทดลอง

  ทรายหรือกราดจะตกตะกอนอย่างรวดเร็ว น้ำมันพืช น้ำและฟองอากาสซึ้งเกิดจากการเขย่าจะรวมตัวกัน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วินาที น้ำมันพืชและน้ำจะแยกตัวออกจากกัน โดยน้ำมันพืชสะเหลืองจะลอยตัวอยู่บนผิงน้ำ
  ทรายหนักกว่าน้ำจึงจมน้ำ แต่น้ำมีนเบากว่าน้ำจึงลอยอยู่บนผิวน้ำได้แต่ของเหลวทั่งสองชนิดคือ น้ำและน้ำมันไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันเพราะน้ำแบละน้ำมันมีโครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกันและไม่ชอบอยู่รวมกัน เมื่อเขย่าขวดที่มีน้ำและน้ำมันอยู่ น้ำมันจะแตกตัวอยู่ในรูปทรงกลมและพยายามอยู่ด้านบน เมื่อทิ้งไว้สักครู่น้ำมันที่แตกตัวจะจับตัวกันเหมือนเดิม สสารชนิดเดียวกันจะรวมตัวกันเสมอตามสมบัติทางเคมี
💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟💟

ภาพบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการทดลอง







💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

💜💜สิ่งที่ได้รับและควรที่จะปรับปรุงในการจัดกิจกรรม

  สิ่งที่ได้รับ 😊 วันนี้ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้รู้วิธีการควบคุมเด็กให้นั่งเรียบร้อยเราต้องมีข้อตกลงให้กับเด็ก วิธีการเก็บเด็ก กระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานแล้วให้เด็กรู้จักการรอคอย กระตุ้นเด็กให้ตอบคำถามโดยการที่เราตั้งคำถามให้เด็กได้คิดตาม 
  ควรปรับปรุง 😊😊 การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อมและให้เพียงพอต่อเด็กให้เด็กได้มีส่วนร่วม และการจัดการเด็กให้เชื่อฟังเรา การถามเด็กๆโดยการกระตุ้นให้ตอบ การสังเกตเด็กแต่ละคนว่าเด็กอย่างมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด

💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧


        😃คำศัพท์😄
1.Readiness                 ความพร้อม
2.Activities                กิจกรรม
3.Science                   วิทยาศาสตร์
4.Analysis                  การวิเคราะห์
5.Improvement               การปรับปรุง

การประเมิน

ประเมินตนเอง 👾 ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆซึ่งได้เรียนรู้อะไรมากมายโดยเฉพาะการแก้ปัญหาต่างๆ การจัดกิจกรรมแต่ละครั้งทำให้เรารู้ว่าต้องเตรียมตัวให้เป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน 👾 เพื่อนๆช่วยกันดูแลเด็กได้ดีและพาเด็กไปทำกิจกรรมในฐานต่างๆสามารถควบคุมเด็กได้

ประเมินอาจารย์ 👾 อาจารย์ให้คำแนะนำนักศึกษาได้ดีมากและเข้าใจง่าย ช่วยสอนตักเตือนในสิ่งที่เราจัดกิจกรรมว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง



                    💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น