วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Learning Record ★ 11

วันพุธ ที่ 6 พฤศจิกายน  พ.ศ.2562



ความรู้ที่ได้รับ 

   วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่อาจารย์ให้นักศึกษามาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆที่มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่ มีทั้งเด็กอนุบาล 1 เด็กอนุบาล 2  เด็กอนุบาล 3  มีจำนวน 30 คน ซึ่งวันนี้อาจารย์ให้มาจัดกิจกรมการทดลองทั้งหมด 3 กลุ่ม แล้วเพื่อนๆที่ไม่ได้จัดกิจกรรมให้ช่วยดูแลน้องๆในการทำกิจกรรม นักศึกษาจะจัดให้เด็กๆเดินวนฐานต่างๆซึ่งได้ทำกิจกรรมจนครบ




   ก่อนที่เราจะนำเด็กๆเข้าสู่การทำกิจกรรมอย่างแรกเราต้องเก็บเด็กหรือกระตุ้นให้เด็กอยากทำกิจกรรมโดยการร้องเพลงหรือมีเกมการศึกษามาให้เด็กๆเล่นซึ่งก่อนจะทำกิจกรรมของเด็กๆครูที่ควบคุมเด็กอยู่ที่นี่ได้ให้เคารพธงชาติ บริหารร่างกาย




หลังจากนั้นเราก็เข้ามาทำความรู้จักกับเด็กโดยการนำร้องเพลง






          หลังจากเตรียมความพร้อมให้เด็กๆก่อนเข้าสู่กิจกรรม เพื่อนๆก็ได้แยกย้ายกันไปอยู่ในแต่ละฐานที่ตนเองได้จัดกิจกรรมการทดลอง ส่วนเพื่อนที่คอยช่วยเหลือนำเด็กๆไปทำกิจกรรมแต่ละฐานและช่วยควบคุมเด็กๆ


💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚💚

💓ฐานที่ 1 การทดลองภาพเคลื่อนไหว
ในแสงสีแดงและสีเขียว 

ภาพกิจกรรมการทดลอง






สมาชิกในกลุ่ม

  1.นางสาวอภิญญา แก้วขาว
  2.นางสาวปทุมแก้ว ขุนทอง
 3.นางสาวปุณยวีร์ ยานิตย์
  4.นางสาวอรนภา ขุนวงค์ษา

💦อุปกรณ์
1.แผ่นใสสีแดงและสีเขียว
2.เทปกาว
3.กรรไกร
4.ปากกาเคมีหรือดินสอสีแดงและสีเขียว

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เปรียบเทียบสีของปากกาเคมีและแผ่นใสที่ใช้ให้กลมกลืน  ลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีแดง เมื่อวางแผ่นใสสีแดงทาบลงไป จะต้องมองไม่เห็นเส้นสีแดง แต่เมื่อมองผ่านแผ่นใสสีเขียวจะต้องเห็นเส้นสีแดงได้ชัดเจน
2.จากนั้นลองขีดเส้นด้วยปากกาเคมีสีเขียว เมื่อวางแผ่นใสสีเขียวทาบลงไป เราจะมองไม่เห็นเส้นสีเขียว แต่จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อมองผ่านแผ่นใสสีแดง ถ้าหาปากกาเคมีสีเขียวที่กลมกลืนกับแผ่นใสสีเขียวไม่ได้ อาจใช้แค่ปากกาเคมีสีแดงสีเดียวก็ได้
3.ตัดแผ่นใสสีแดงและสีเขียวให้มีขนาดเท่ากับไปรษณียบัตรวางแผ่นใสสีแดงและสีเขียวชิดกัน ติดด้วยเทปกาวใส ตัดทั้งสี่มุมให้มน
4.วาดภาพง่ายๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เช่น รูปใบหน้าคน ลงบนกระดาษสีขาว ภาพที่วาดไม่ควรมีขนาดใหญ่กว่าแผ่นใสสีเขียวแดงที่เตรียมไว้
 - ใช้ปากกาเคมีสีแดงเติมรายละเอียดลงไปในภาพ เช่น แลบลิ้น เป็นต้น
 - นำแผ่นใสสีเขียว แดง ที่ทำไว้มาวางบนภาพ และเลื่อนไปมาในแนวตั้งหรือแนวนอน
5.วาดภาพแบบอื่นๆด้วยปากกาเคมีสีดำ เติมรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวไปมาด้วยปากกาเคมีสีแดง เช่น
  - เทียนสีดำกับเปลวไฟสีแดง
  - หมวกสีดำกับกระต่ายสีแดง
  - มังกรสีดำกำลังพ่นไฟสีแดง

•อาจใช้ปากกาเคมีสีเขียววาดรายละเอียดของภาพที่เคลื่อนไหวได้เช่นกัน

💦สรุปผลการทดลอง
 เรามองเห็นภาพที่วาดด้วยปากกาเคมีสีดำผ่านแผนใสทั้งสองสี แต่รายละเอียดของภาพที่ใช้แสดงการเคลื่อนไหวต้องวาดด้วยสีแดงหรือสีเขียวเท่านั้น เราไม่สามารถสร้างการเคลื่อนไหวจากสีทั้งสองสีพร้อมกันได้

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛

💓ฐานที่ 2  การทดลองภูเขาไฟ

ภาพกิจกรรมการทดลอง





สมาชิกในกลุ่ม

      1.นางสาวเบญจวรรณ ปานขาว
 2.นางสาวชนิตา โพธิ์ศรี
 3.นางสาวชฎาพร คำผง
    4.นางสาวปิยาภรณ์ วงษ์ป้อม
  5.นางสาวชลิตา ภูผาแนบ


💦อุปกรณ์
1.เบกกิ้งโซดา
2.น้ำส้มสายชู
3.สีผสมอาหาร
4.ดินน้ำมัน
5.แก้วพลาสติก

💦ขั้นตอนการทดลอง
1.เทน้ำส้มสายชูประมาน 1 ส่วน 3 ของแก้ว ลงไปในปล่องภูเขาไฟ
2.เติมเบกกิ้งโซดาลงไปในปล่องภูเขาไฟ
3.สังเกตการเกิดฟองออกมาจากปล่องภูเขาไฟ

💦สรุปผลการทดลอง
  การทดลองกิจกรรมภูเขาไฟระเบิดโดยใส่สารต่างๆตามวิธีของตนเอง ว่าจะใส่สารอะไรก่อนหลัง เช่น ใส่เบกกิงโซดา น้ํายําล้างจาน สีผสมอาหาร จะทำให้เกิดฟองไหลออกมาจาก ปล่องภูเขําคล้ายลาวา ในลาวาที่ไหลออกมาเกิดจากเบกกิงโซดําผสมกับของเหลวจนเกิดเป็นก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛

💓ฐานที่ 3 การทดลองลูกข่างหลากสี( การทดลองเชิงสื่อ )

ภาพกิจกรรมการทดลอง





สมาชิกในกลุ่ม

  1.นางสาวกนกอร เกาะสังข์
2.นางสาวชลิดา ทารักษ์
   3.นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์
 4.นางสาวดาวจุฬา สินตุ้น


💦อุปกรณ์ 

1.กระดาษสีขาวและกระดาษสี

2.แผ่นซีดี

3.ดินน้ำมัน

4.ลูกแก้ว

5.กรรไกร
6.กาวแท่ง
7.ดินสอและปากกาเคมี

💦ขั้นตอนการทดลอง                                                    1.ใช้แผ่นซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษตัดออกมาระบายสีลงบนแผ่นกระดาษวงกลม
2.ระบายสีตกแต่งลูกข่างกระดาษด้วยสีที่เทียนเมื่อลูกข่างหมุนจะเกิดเป็นการผสมสี
3.ใช้กาวติดแผ่นซีดีกับแผ่นกระดาษวงกลมที่ระบายสี
4.เจาะรูบนกระดาษให้ตรงกับตำแหน่งของรูบนแผ่นซีดีวางแก้วบนรู้แผ่นซีดียึดให้แน่นด้วยดินน้ำมันหรือกาวร้อน

💦สรุปผลการทดลอง
    การทดลองนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถเพื่อให้ลูกข่างแผ่นซีดีหมุนอยู่กับที่ให้วางแผ่นซีดีในรูของแผ่นซีดีเปล่าทำให้เราเห็นสีต่างๆเนื่องจากเซลล์รับรู้ของตาเราไวต่อแสงสี 3 สีหลัก ได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียว ถูกกระตุ้นถ้ามีสีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราไม่สามารถแยกสิ่งต่างๆได้ทันจึงเห็นสีต่างๆผสมเป็นสีเดียวกัน

💢💢💢 กลุุ่มนี้อาจารย์ให้ไปทำเป็นสื่อแทนการทดลอง

💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛

   หลังจากที่เด็กๆได้ทำกิจกรรมครบทุกฐานเรียบร้อยแล้ว มีการเล่านิทานลูกวัวขี้เกียจให้เด็กๆฟังแล้วร้องเพลงเพื่อจะจบกิจกรรมในวันนี้

ภาพบรรยาศในการทำกิจกรรม










💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗

💜💜สิ่งที่ได้รับและควรที่จะปรับปรุงในการจัดกิจกรรม

   สิ่งที่ได้รับ 😊 วันนี้ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้รู้วิธีการเก็บเด็กให้นั่งฟังคำสั่งแล้วต้องมีข้อตกลงให้กับเด็ก กระตุ้นให้เด็กทำกิจกรรมอย่างสนุกสนานแล้วให้เด็กรู้จักการรอคอย กระตุ้นเด็กให้ตอบคำถามโดยการที่เราตั้งคำถามให้เด็กได้คิดตาม ได้เรียนรู้การทำงานเป็นระบบ เป็นขั้นตอน เมื่อเราไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม กระตุ้นให้เด็กสนใจในสิ่งที่เรากำลังจัดกิจกรรม

  ควรปรับปรุง 😊😊 ควรที่จะแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจนและทำเป็นขั้นตอน การจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมและให้เพียงพอต่อเด็กให้เด็กได้มีส่วนร่วม และการจัดการเด็กให้เชื่อฟังโดยการกระตุ้นโดยการถามเด็กๆโดยการกระตุ้นให้ตอบ การสังเกตเด็กแต่ละคนว่าเด็กอย่างมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด 

💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗💗


                 ❤คำศัพท์❤
1.Volcano                ภูเขาไฟ
2.Participate            ส่วนร่วม
3.Observe                สังเกต
4.Stimulation            การกระตุ้น
5.Step                   ขั้นตอน


การประเมิน

ประเมินตนเอง 👾 ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆทำให้รู้ข้อบกพร่องของตนเองแล้วต้องนำไปปรับปรุงในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป ได้รู้จักเด็กมากขึ้นซึ่งมีความแตกต่างกันไป

ประเมินเพื่อน 👾 เพื่อนๆควรจะให้ความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรม กล้าที่จะเป็นผู้นำและการควบคุมเด็กไปแต่ละฐานช่วยกันดีมาก

ประเมินอาจารย์ 👾 อาจารย์คอยตักเตือนในสิ่งที่เราควรจะแก้ไขในครั้งต่อไปได้ดีมากทำให้รู้ข้อบกพร่องในแต่ละคน 


💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖💖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น